อยากเป็น ‘นักกีฬา E-Sport’ ต้องเรียนอะไร? เจาะลึกเส้นทางอาชีพเสี่ยงไหม?
เคยสงสัยไหมว่า ทำไมการเล่นเกมถึงกลายเป็นอาชีพได้? จากที่เคยถูกมองว่าเป็นเพียงกิจกรรมเพื่อความบันเทิงส่วนตัว การเล่นเกมในปัจจุบันได้พัฒนาไปสู่การแข่งขันระดับโลกที่มีผู้ชมติดตามเป็นล้านคน และมีเงินรางวัลสูงลิ่ว จนกลายเป็นอาชีพที่ใครหลายคนใฝ่ฝันอยากจะเป็น วันนี้จะพาไปดูเส้นทางของนักกีฬาอีสปอร์ตกันว่ากว่าจะเดินทางเข้าสู่ทัวร์นาเมนต์ระดับโลก ต้องเตรียมตัวอย่างไร? รายได้ที่ได้ขึ้นอยู่กับอะไรบ้าง? เพื่อเป็นไกด์ให้กับคนที่อยากเป็นนักกีฬา E-sport มืออาชีพกัน
นักกีฬาอีสปอร์ต คืออะไร?

นักกีฬาอีสปอร์ต คือ คนที่ใช้ทักษะในการเล่นเกมเพื่อแข่งขัน และสามารถสร้างรายได้จากการเป็นนักกีฬาอาชีพได้ ก็เหมือนนักกีฬาทั่วไป แต่แทนที่จะแข่งขันกีฬาทางกายภาพ เช่น ฟุตบอล บาสเก็ตบอล พวกเขาจะแข่งขันเกมคอมพิวเตอร์แทน ซึ่งแน่นอนว่าก็ต้องมีกติกา มีการฝึกซ้อมอย่างจริงจัง เพื่อสร้างกลยุทธ์ที่เฉียบคม และสามารถเอาชนะคู่แข่งจากทั่วโลกได้ ไปดูเส้นทางอาชีพของนักกีฬาอีสปอร์ตกันต่อเลยว่า ต้องมีคุณสมบัติอะไร ทำอย่างไรถึงจะก้าวเป็น Pro Player ที่มีรายได้สูง ๆ ได้ นอกจากนี้ยังมีอาชีพอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอีสปอร์ต จะมีอะไรบ้าง? เราไปดูกัน
การทำงานของนักกีฬาอีสปอร์ต
โดยจะเป็นไปในรูปแบบนี้ คือ สมัครเข้าแข่งขันในทัวร์นาเมนต์ > ทำตารางการฝึกซ้อม > ฝึกซ้อมอย่างจริงจัง ซึ่งขั้นตอนทั้งหมดนี้ไม่ใช่เพียงแค่เล่นเกมเป็น 10 ตาแล้วจะจบ แต่ทั้งนี้ต้องมีการทำงานเป็นทีม วางกลยุทธ์ ศึกษาคู่แข่ง เตรียมแผนให้พร้อมที่สุดก่อนลงสนาม อาจมีคนที่เราต้องทำงานด้วย ถ้าเป็นสังกัดใหญ่ ๆ ก็จะมีผู้จัดการทีม โค้ช สปอนเซอร์ ร่วมถึงทีมข่าว E-Sport ที่ต้องทำการประชาสัมพันธ์
เปิดรายได้ของนักกีฬา E-sport
รายได้ของนักกีฬาอีสปอร์ตนั้นมีความหลากหลายมาก ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ความสามารถของนักกีฬาที่มีฝีมือสูงและเป็นที่รู้จักจะมีรายได้สูงกว่า เกมที่เล่นมีความนิยมและมีฐานแฟนคลับมากน้อยเพียงใด ทีมที่มีสปอนเซอร์และมีผลงานดี จะมีงบประมาณในการจ่ายให้กับนักกีฬาได้สูงกว่า นอกจากนี้ เงินรางวัลในรายการการแข่งขัน ก็จะแตกต่างกันออกไป
อาชีพเกี่ยวกับกีฬา Esport | รายได้เฉลี่ย / เดือน |
นักกีฬาอีสปอร์ต (Esports Player) | 15,000 – หลักล้านบาท |
โค้ชกีฬาอีสปอร์ต (Esports Coach) | 15,000 – 100,000 บาท |
เกมแคสเตอร์ (Game Caster) | ไม่แน่นอน |
นักพากย์การแข่งขัน (Shout Caster) | 50,000 – 150,000 บาท |
นักพัฒนาเกม (Game Developer) | 25,000 – 100,000 บาท |
เกมแอนิเมเตอร์ (Game Animator) | 15,000 บาทขึ้นไป |
นักการตลาดด้านเกม (Game Marketer) | 18,000 – 350,000 บาท |
ยกตัวอย่างล่าสุดเกมยอดฮิตอย่าง ROV ได้เปิดโปรแกรมแข่งขัน 𝐑𝐨𝐕 𝐏𝐫𝐨 𝐋𝐞𝐚𝐠𝐮𝐞 𝟐𝟎𝟐𝟒 𝐒𝐮𝐦𝐦𝐞𝐫 อันดับ 1 อย่างทีม Talon ได้คว้าเงินรางวัลไปกว่า 6,000,000 บาท แต่หากพูดถึงนักกีฬาอีสปอร์ต สัญชาติไทย ที่มีรายได้สะสมสูงสุด ก็คือ คุณอนุชา จิระวงศ์ หรือชื่อในวงการเกม DOTA 2 ว่า “Jabz” โดยเขาทำเงินไปได้ทั้งหมด 22.8 ล้านบาท สูงเป็นอันดับ 187 ของโลกเลยทีเดียว ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ถือเป็นรายได้คร่าว ๆ ของนักกีฬาอีสปอร์ตและอาชีพที่เกี่ยวข้อง ทำให้เราเห็นว่าวงการอีสปอร์ตเป็นปรากฏการณ์ที่น่าสนใจและมีศักยภาพในการเติบโตอย่างมหาศาลในอนาคต
ความก้าวหน้าทางอาชีพของนักกีฬา E-Sport เสี่ยงสูงไหม?
ต้องบอกว่าไม่เพียงแต่อาชีพของนักกีฬาอีสปอร์ตที่มีความเสี่ยง ทุกอาชีพล้วนมีความเสี่ยงเหมือนกันหมด แต่หากพูดในแง่ความเสี่ยงของอาชีพนักกีฬา E-Sport มีอะไรบ้างที่ควรรู้บ้าง
- การเปลี่ยนแปลงของเกม ทำให้นักกีฬาต้องปรับตัวให้ทันอยู่ตลอดเวลา
- วงการ E-Sport มีการแข่งขันที่สูงมาก มีนักกีฬาที่มีความสามารถมากมายเข้ามาในวงการ ทำให้การรักษาตำแหน่งและความสำเร็จเป็นเรื่องที่ยาก
- รายได้ของนักกีฬา E-Sport อาจไม่คงที่ ขึ้นอยู่กับผลการแข่งขัน สปอนเซอร์ และความนิยมของเกม
- การฝึกซ้อมอย่างหนักอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย เช่น ปัญหาเกี่ยวกับสายตา ปวดเมื่อยตามร่างกาย
- นักกีฬา E-Sport ที่มีชื่อเสียงมักจะถูกจับตามองจากแฟนคลับ ทำให้เกิดความกดดันในการทำผลงาน
อยากเป็นนักกีฬา E-sport ต้องเตรียมตัวอย่างไร?

1. หาจุดแข็งตัวเองให้เจอ
นักกีฬา E-Sport คุณสมบัติที่ควรมีคือ การรู้จักและใช้จุดแข็งของตัวเองให้เป็นประโยชน์ ลองสังเกตว่าเราเล่นเกมแบบไหนได้ดีที่สุด ลองเล่นให้หลากหลาย ขอคำแนะนำจากเพื่อนร่วมทีม แล้วหาจุดแข็งเพื่อฝึกฝนให้ดีขึ้น นอกจากนี้หมั่นดูการแข่งขันของโปรเพลเยอร์ เปรียบเทียบสไตล์การเล่นของเรากับโปรเพลเยอร์ เพื่อหาจุดที่เราทำได้ดีกว่า
2. เข้าร่วมการแข่งขัน
การแข่งขัน เพราะเป็นเวทีที่นักกีฬาจะได้พิสูจน์ฝีมือ สร้างชื่อเสียง และพัฒนาตัวเองให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังได้สั่งสมประสบการณ์ ได้เรียนรู้การเล่นภายใต้ความกดดัน การทำงานร่วมกับทีม และการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อีกด้วย แนะนำให้ติดตามเพจของเกม เนื่องจากการแข่งขัน E-sport มีหลากหลายรูปแบบ เช่น ทัวร์นาเมนต์รายการเล็ก ทัวร์นาเมนต์รายการใหญ่ ระดับประเทศหรือระดับโลก มีเงินรางวัลสูง มีผู้ชมจำนวนมาก และสุดท้ายคือการแข่งขันแบบลีก ซึ่งทีมจะแข่งขันกันเป็นฤดูกาล
3. สร้างชื่อเสียงให้ตัวเอง
การสร้างชื่อเสียงให้เป็นที่รู้จักก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ขาดไม่ได้ ซึ่งจะเปิดโอกาสให้คุณได้รับโอกาสต่าง ๆ มากมาย เช่น การเป็นสตรีมเมอร์ ได้รับสปอนเซอร์ หรือแม้แต่การมีรายได้จากการเล่นเกม แต่ก่อนที่จะไปถึงจุดนั้นก็ต้องมีความพยายาม หมั่นสร้างคอนเทนต์ผ่านแพลตฟอร์มต่าง ๆ เช่น Twitch, YouTube ทำคลิปวิดีโอโพสต์ลงโซเชียลมีเดีย และสร้างปฏิสัมพันธ์กับแฟน ๆ
4. เลือกเรียนในคณะที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีและนวัตกรรม
อยากเป็นนักกีฬา E-Sport ต้องเรียนอะไร? การเป็นนักกีฬา E-sport นั้นต้องการทักษะที่หลากหลาย ไม่ใช่แค่ฝีมือในการเล่นเกมเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความรู้ด้านเทคโนโลยีและความเข้าใจในอุตสาหกรรมเกมอีกด้วย การเลือกเรียนในคณะเทคโนโลยีและนวัตกรรมจึงเป็นการลงทุนที่ดี เพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะที่จำเป็นต่อการเป็นนักกีฬา E-Sport มืออาชีพ
อยากเป็นเกมเมอร์ มีใบปริญญา ด้านมัลติมีเดียและอีสปอร์ต ที่ SBU
คณะเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรม ที่มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก เปิดสาขาวิชามัลติมีเดียและอีสปอร์ต ที่เน้นการเรียนการสอนธุรกิจด้านเกม กีฬาอีสปอร์ต รวมทั้งสื่อดิจิทัลต่าง ๆ ไม่เพียงแต่จะได้เล่นเกม แต่การเรียนที่ SBU จะได้ศึกษาวิชาการที่จำเป็นในสายงานนี้ เช่น ภาษาอังกฤษ จิตวิทยา ทักษะการเรียนรู้และการแก้ปัญหา คณิตศาสตร์สําหรับงานมัลติมีเดีย และดิจิทัลมาร์เกตติ้งสําหรับอีสปอร์ต ที่เรียกได้ว่าเลือกเรียนคณะเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมแล้ว ไม่เพียงแต่ได้เป็นนักกีฬาอีสปอร์ต แต่ยังสามารถก้าวสู่สายงานอื่น ๆ ที่หลากหลาย พร้อมใบปริญญาได้อีกด้วย! สมัครเข้าก๊วนกับเราได้เลย
