การส่งบทความ
รายการตรวจสอบก่อนส่งบทความ
ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
- ผลงานที่ส่งไม่ได้รับการตีพิมพ์ที่ไหนมาก่อน และไม่เคยส่งให้วารสารอื่นพิจารณา (หรือมีความคิดเห็นที่อธิบายส่งให้บรรณาธิการ)
- ไฟล์ที่ส่งต้องอยู่ในรูปแบบไฟล์เอกสาร OpenOffice, Microsoft Word, RTF หรือ WordPerfect เมื่อพร้อมส่ง ได้มีการจัดเตรียม URL สำหรับการส่งให้แล้ว
- ระยะระหว่างบรรทัดในการพิมพ์ข้อมูลเป็นแบบพิมพ์เดี่ยว และภาพประกอบ รูปภาพ และตารางทั้งหมดจะถูกวางไว้ในที่ที่เหมาะสมของหน้าแทนที่จะอยู่ท้ายหน้า
- รูปแบบและบรรณานุกรมเป็นไปตามข้อกำหนดที่ระบุไว้ใน Author Guidelines สำหรับผู้เขียนโดยตรวจสอบข้อมูลได้ในวารสาร
- ถ้ามีการส่งการทบทวนจากข้อเสนอแนะกลับให้ผู้ทรงคุณวุฒิของวารสาร จะต้องปฏิบัติตาม Ensuring a Blind Review
คำแนะนำผู้แต่ง
ข้อกำหนดของบทความต้นฉบับ
- ผู้ที่ประสงค์ส่งบทความสามารถส่งบทความที่เป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ โดยผู้เขียนบทความทุกคนต้องให้ข้อมูลเกี่ยวกับชื่อและนามสกุลของผู้เขียน หน่วยงานที่สังกัด รวมทั้งข้อมูลที่ติดต่อได้ให้ชัดเจน
- ในกรณีเป็นบทความที่เป็นส่วนหนึ่งของงานวิทยานิพนธ์ หรือดุษฏีนิพนธ์ ต้องได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาหลักก่อน
- บทความที่จะส่งไม่ควรมีความยาวเกิน 25 หน้า และบทคัดย่อควรมีความยาวไม่เกิน 300 คำ (ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) มีคำสำคัญ (Keywords) ไม่เกิน 5 คำ โดยทั้งบทความภาษาไทย และบทความภาษาอังกฤษต้องมีบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษด้วยเช่นเดียวกัน
- ผู้ส่งบทความควรตรวจสอบความถูกต้องของการพิมพ์ต้นฉบับ เช่น ตัวสะกด วรรคตอน และความเหมาะสม ความสละสลวยของการใช้ภาษา
- ผู้ส่งบทความจะต้องเขียนอ้างอิงเอกสารอื่นโดยจัดให้อยู่ในรูปแบบ APA Style (สามารถดูรายละเอียดได้ที่https://en.wikipedia.org/wiki/APA_ style#Reference_list) และจะต้องตรวจสอบความถูกต้องและความสมบูรณ์ของการอ้างอิง
- บทความวิจัยที่ส่งมาเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ (1) ต้องผ่านการรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ โดยให้ผู้เขียนระบุเลขที่หนังสือรับรอง พร้อมแนบสำเนาหนังสือรับรองประกอบการส่งบทความ หรือ (2) ผู้วิจัยหลัก (Corresponding Author) ต้องผ่านการอบรมจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์จากสถาบันการศึกษา พร้อมแนบสำเนาประกาศการผ่านการอบรมฯ
องค์ประกอบของบทความ
บทความวิจัย และบทความวิชาการ ประกอบด้วย
1. ชื่อเรื่อง (Title) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
2. ชื่อผู้เขียนทุกคน ใช้ชื่อและนามสกุลทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษพร้อมระบุหน่วยงานที่สังกัด รวมทั้ง E-mail และ เบอร์ โทรศัพท์ที่ติดต่อได้ ของผู้เขียน
3. Corresponding Author E-mail ใส่อีเมลผู้เขียนหลักหรือผู้ประสานงานบทความ
4. บทคัดย่อ (Abstract) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ มีความยาวไม่เกิน 300 คำ และคำสำคัญ (Keywords) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ จำานวนไม่เกิน 5 คำ
5. เนื้อหา (Contents) จัดเป็น 1 คอลัมน์ มีรายละเอียดดังนี้
5.1 บทความวิจัย ควรให้มีการนำเสนอการวิจัยและผลที่ได้รับอย่างเป็นระบบโดยควรมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้ (สามารถมีหัวข้อหรือองค์ประกอบที่แตกต่างได้)
- บทนำ (Introduction)
- วัตถุประสงค์ของการวิจัย
- สมมติฐานของการวิจัย (ถ้ามี)
- แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
- วิธีดำเนินการวิจัย (Research Methodology) ที่สามารถอธิบายวิธีการดำเนินการวิจัยรวมถึงการเก็บข้อมูล หรือเครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัยอย่างชัดเจน
- ผลการวิจัย (Results)
- อภิปรายผล และสรุปผลการวิจัย (Discussion and Conclusion)
- ข้อเสนอแนะ
- เอกสารอ้างอิง (References)
5.2 บทความวิชาการ หัวข้อและเนื้อหาควรชี้ประเด็นที่ต้องการนำเสนออย่างชัดเจน และมีลำดับเนื้อหาที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจได้ชัดเจน และเสนอแนะมีประเด็นอย่างสมบูรณ์ โดยควรประกอบด้วยหัวข้อดังต่อไปนี้ (สามารถมีหัวข้อหรือองค์ประกอบที่แตกต่างได้)
- บทนำ (Introduction)
- แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
- สาระในประเด็นต่างๆ (Contents)
- อภิปรายผล และสรุป (Discussion and Conclusion)
- ข้อเสนอแนะ
- เอกสารอ้างอิง (References)
การเตรียมต้นฉบับ (บทความวิจัย/บทความวิชาการ)
1. บทความมีความยาวไม่เกิน 25 หน้า กระดาษ A4 โดยจัดเป็น 1 คอลัมน์ (รวมบทคัดย่อภาษาไทย ภาษาอังกฤษและเอกสารอ้างอิง)
2. การตั้งค่าหน้ากระดาษ ให้กำหนดขอบบน 1.5 นิ้ว ขอบล่าง 1 นิ้ว ขอบซ้าย 1.5 นิ้ว และขอบขวา 1 นิ้ว
3. ใช้รูปแบบตัวอักษร TH SarabunPSK โดยกำหนดขนาด ดังนี้
3.1 ชื่อเรื่องภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาด 20 point ตัวหนา ชิดซ้าย
3.2 ชื่อผู้เขียนภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาด 15 point ตัวหนา ชิดซ้าย
3.3 ตำแหน่ง สถานที่ทำงาน และ E-mail address ของผู้เขียน ขนาด 15 point ตัวธรรมดาชิดซ้าย
3.4 หัวข้อเรื่อง ขนาด 16 point ตัวหนา ชิดซ้าย
3.5 รายละเอียด/เนื้อเรื่อง ขนาด 15 point ตัวธรรมดา ชิดซ้าย
4. รูปภาพ แผนภูมิ ตารางประกอบ หรืออื่น ๆ ต้องมีหมายเลขกำกับ อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลให้ถูกต้อง มีความคมชัด และไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น
5. เอกสารอ้างอิง (References) ใช้เป็นภาษาอังกฤษเท่านั้นในรูปแบบ APA (7th edition)
การอ้างอิงเอกสาร
บทความทุกเรื่องที่ส่งเข้ามาพิจารณาทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ จะต้องมีการเขียนอ้างอิงเอกสารอื่นหรือเขียน แหล่งที่มาของข้อมูลที่นำมาใช้ในตอนท้ายของบทความ โดยให้เขียนอ้างอิงเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น และให้จัดอยู่ในรูปแบบ APA Style ซึ่งผู้ส่งบทความควรตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของการอ้างอิงให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่วารสารบริหารธุรกิจกำหนด อย่างเคร่งครัด (บทความเรื่องใดที่มีรูปแบบการอ้างอิงที่ยังไม่เป็นไปตามที่วารสารกำหนด จะไม่ได้รับการส่งต่อให้ ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความอ่านพิจารณาในขั้นตอนถัดไป) โดยผู้ส่งบทความต้องยึดตามหลักเกณฑ์หลักๆ ดังต่อไปนี้
1. การอ้างอิงในเนื้อหา
รูปแบบ | การอ้างอิงในเนื้อหา (หน้าข้อความ) | การอ้างอิงในเนื้อหา (ท้ายข้อความ) |
ผู้แต่ง 1 คน | Coghlan (1993) | Coghlan (1993) |
ผู้แต่ง 2 คน | Mohsen และ Mohammad (2011) | (Mohsen & Mohammad, 2011) |
ผู้แต่ง 3 คนขึ้นไป | Burkart et al. (1997) | (Burkart et al., 1997) |
หน่วยงาน | Ministry of Education (2020) | (Ministry of Education, 2020) |
หน่วยงานที่ใช้ชื่อย่อ | การอ้างอิงครั้งแรก National Institute of Development Administration (NIDA, 2018) การอ้างอิงครั้งถัดไป NIDA (2018) | การอ้างอิงครั้งแรก (National Institute of Development Administration [NIDA], 2018) การอ้างอิงครั้งถัดไป (NIDA, 2018) |
การอ้างอิงที่มาจากต้นฉบับโดยตรง | Shaw (2017, p. 172) หรือ (Shaw, 2017, p. 172) หรือ (ให้ระบุเลขหน้า) | Shaw (2017, pp. 172-180) (Shaw, 2017, pp. 172-180) |
การอ้างอิงจากบทสัมภาษณ์ | J. M. Sun (Personal communication, August 18, 2021) | (Sun, J. M., Personal communication, August 18, 2021) |
2. การอ้างอิงท้ายบทความ ให้รวบรวมเอกสารที่ใช้อ้างอิงไว้ท้ายบทความเรียงตามลำดับอักษรแหล่งอ้างอิงและสกุลผู้เขียน โดยใช้รูปแบบการเขียนอ้างอิง APA 7th
ทั้งนี้ แหล่งรายการอ้างอิงที่เผยแพร่หากเป็น ภาษาไทย ให้ระบุ [in Thai] ยกเว้นภาษาอังกฤษ ไม่ต้องระบุประเภทภาษา ไว้ด้านท้ายการอ้างอิงแต่ละรายการ
2.1 รูปแบบการอ้างอิงตามจำนวนผู้แต่ง
ผู้แต่ง การอ้างอิงท้ายบทความ
1 คน สกุล,/อักษรตัวแรกของชื่อผู้แต่งตัวพิมพ์ใหญ่.
2 คน สกุล,/อักษรตัวแรกของชื่อผู้แต่งตัวพิมพ์ใหญ่.,/&/สกุล,/อักษรตัวแรกของชื่อผู้แต่งตัวพิมพ์ใหญ่.
3-20 คน สกุล,/อักษรตัวแรกของชื่อผู้แต่งตัวพิมพ์ใหญ่.,/(ลำดับที่ 1-19),/&/สกุล,/อักษรตัวแรกของ ชื่อผู้แต่งตัวพิมพ์ใหญ่. (ลำดับที่ 20)
21 คนขึ้นไป สกุล,/อักษรตัวแรกของชื่อผู้แต่งตัวพิมพ์ใหญ่.,/(ลำดับที่ 1-19),/./././สกุล, อักษรตัวแรกของชื่อผู้แต่งตัวพิมพ์ใหญ่. (ลำดับสุดท้าย)
2.2 รูปแบบการเขียนอ้างอิงตามเอกสาร
2.2.1 วารสาร
1) วารสาร (รูปเล่ม)
รูปแบบ: สกุล,/อักษรตัวแรกของชื่อผู้แต่งตัวพิมพ์ใหญ่./(ปี ค.ศ.)./ชื่อเรื่อง./ชื่อวารสาร,/ปีที่(ฉบับที่),/หน้าแรก-หน้าสุดท้ายของบทความในวารสาร.
ตัวอย่าง:
Chanwong, O., Wingwon, B., & Piriyakul, M. (2019). The Mediation Influence of Trust and Experience of Electronic Banking Services on the Relationship among Subjective Norm Behavioral Intention and Actual Use Commercial Banking Business. Journal of Business Administration the Association of Private Higher Education Institutions of Thailand, 8(2),47-68. [in Thai]
2) วารสาร (อิเล็กทรอนิกส์)
รูปแบบ: สกุล,/อักษรตัวแรกของชื่อผู้แต่งตัวพิมพ์ใหญ่./(ปี ค.ศ.)./ชื่อเรื่อง./ชื่อวารสาร,/ปีที่(ฉบับที่),/หน้าแรก-หน้าสุดท้ายของบทความในวารสาร./http://doi.org/xxxx หรือ URL
ตัวอย่าง:
Waehayee, N. (2014). Relationship between strategic performance based budgeting system and law on the budgetary procedures. Jurisprudence Journal Naresuan University, 7(2), 152-178. http://doi.org/10.14456/nulj.2014.9
Sittichai, O., & Silcharu, T. (2021). Guidelines for creating competitive advantage for processed food industry cluster. Panyapiwat Journal, 13(2), 12-26. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/240994 [in Thai]
2.2.2 หนังสือ
1) หนังสือ (รูปเล่ม)
รูปแบบ: สกุล,/อักษรตัวแรกของชื่อผู้แต่งตัวพิมพ์ใหญ่./(ปี ค.ศ.)./ชื่อหนังสือ/(พิมพ์ครั้งที่)./สำนักพิมพ์.
* กรณีไม่ปรากฏปีที่พิมพ์ให้ใส่ n.d.
* กรณีพิมพ์ครั้งที่ 1 ไม่ต้องระบุครั้งที่พิมพ์
* กรณีไม่ปรากฏสำนักพิมพ์ให้ระบุ n.p.
ตัวอย่าง:
Ritcharoon, P. (2016). Principles of measurement and evaluation. House of Kermyst. [in Thai]
Yamane, T. (1967). Statistics: An introductory analysis (2nd ed.). Harper and Row.
การส่งบทความ
ผู้ที่ประสงค์ส่งบทความกับวารสารบริหารธุรกิจสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย กรุณาส่งบทความผ่านระบบวารสารอิเล็กทรอนิกส์ Thai Journals Online (ThaiJO) ที่อยู่เว็บไซต์ https://www.tci-thaijo.org/index.php/apheitvu/index (ในกรณีที่ไม่สามารถส่งบทความผ่านระบบได้ให้ส่งไฟล์ต้นฉบับบทความในรูปของไฟล์ Microsoft Word มายังอีเมล์ apheitbus_journal@southeast.ac.th) โทรศัพท์ : 02-744-7356 -65 ต่อ 156 หรือ โทรศัพท์มือถือ 081-718-7457 หรือ 092-260-8244
อัตราค่าธรรมเนียมตีพิมพ์
กรณีสมัครเป็นสมาชิกวารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สสอท.
สมาชิกเป็นประเภทสถาบัน ปีละ 5,000 บาท อัตราค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความละ 4,500 บาท
สมาชิกประเภทบุคคล ปีละ 400 บาท อัตราค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ บทความละ 6,000 บาท
กรณีไม่สมัครเป็นสมาชิกวารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สสอท. อัตราค่าส่งบทความเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ บทความละ 6,000 บาท
ผู้เขียนชำระค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความหลังจากบทความผ่านการพิจารณาเบื้องต้นจากกองบรรณาธิการ
ผู้ส่งบทความสามารถชำระเงินค่าส่งบทความเพื่อพิจารณาตีพิมพ์โดยโอนเงินเข้าบัญชี “วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สสอท.” เลขที่บัญชี 813-251289-0 บัญชีออมทรัพย์ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาเดอะมอลล์นครราชสีมา และโปรดส่งหลักฐานการโอนเงิน ส่งกลับมาที่ apheitbus_journal@southeast.ac.th
**หมายเหตุ: หากบทความของท่าน “ถูกปฏิเสธการลงตีพิมพ์” จากผู้ทรงคุณวุฒิ หรือบรรณาธิการ ทางวารสารฯจะไม่คืนเงินค่าส่งบทความเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ให้กับผู้เขียนทุกกรณี จึงขอให้ท่านรับทราบ ก่อนการส่งบทความบทความเพื่อพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สสอท.
ประกาศเกี่ยวกับลิขสิทธิ์
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยต้องเป็นบทความที่ไม่เคยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารอื่นๆ การละเมิดลิขสิทธิ์เป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง
นโยบายส่วนบุคคล
ชื่อและอีเมล์ผู้แต่งที่กรอกในเว็บไซต์วารสารนี้จะใช้เฉพาะวัตถุประสงค์การตีพิมพ์ในวารสารนี้เท่านั้น และจะไม่เผยแพร่เพื่อวัตถุประสงค์อื่นหรือเผยแพร่แก่บุคคลอื่น
Southeast Bangkok University
- ที่ตั้งบางนา
298 ถ.สรรพาวุธ แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260
- : 02 744 7356-65
- : 02 398 1356
Contect US
ผศ.ดร.บุษยา วงษ์ชวลิตกุล
081-718-7457
อาจารย์ภมรย์ สกุลเลิศวัฒนา
080-446-1719
คุณณัฐวดี สิริวัต
098-538-7271
E-mail:apheitbus_journal@southeast.ac.th