ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ
มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก
การสมัครเข้าร่วมเข้ารับการบ่มเพาะ
คุณสมบัติของผู้สมัคร
- มีสัญชาติไทย
- เป็นนักศึกษาเก่า นักศึกษาปัจจุบันอาจารย์ นักวิจัย บุคลากรของวิทยาลัย
- ผู้ประกอบการ และบุคคลภายนอก
- มีแนวคิดทางธุรกิจ หรือรูปแบบทางธุรกิจ พร้อมผลิตภัณฑ์และบริการ ที่จะนำเข้ารับการบ่มเพาะ
- มีเงินทุนที่เพียงพอ สำหรับการเริ่มต้นธุรกิจ
- มีความมุ่งมั่น ตั้งใจอย่างจริงจังในการที่จะเป็นผู้ประกอบการ และจัดตั้งธุรกิจของตนเอง
เกณฑ์การพิจารณาคัดเลือก
- มีความรู้ในธุรกิจที่จะจัดตั้ง โดยมีผลิตภัณฑ์ และรูปแบบของการดำเนินธุรกิจที่ชัดเจน
- มีความมุ่งมั่นตั้งใจจะเป็นผู้ประกอบการที่จะดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ
- มีศักยภาพ มีปัจจัย หรือโอกาสที่สนับสนุนการประกอบธุรกิจได้ด้วยตนเอง
- มีทีมงาน และระบบงานพร้อมที่จะพัฒนาสู่ธุรกิจเต็มรูปแบบ
- มีความพร้อมในการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่หน่วยบ่มเพาะธุรกิจจัดขึ้น
มีงบดำเนินการอย่างน้อยร้อยละ 10 ของค่าใช้จ่ายในช่วงการบ่มเพาะธุรกิจ (ไม่เกิน 20,000 บาทต่อราย) - มีความสามารถในการนำองค์ความรู้งานวิจัย หรือทรัพย์สินทางปัญญาของวิทยาลัยไปต่อยอด พัฒนาธุรกิจ
- ต้องเป็นผู้ที่ยังไม่จดทะเบียนนิติบุคคล แต่หากจดแล้วต้องไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันสมัครเข้ารับการบ่มเพาะ
เงื่อนไขการเข้ารับการบ่มเพาะ
- ผู้เข้ารับการบ่มเพาะ จะต้องจัดทำแผนการบ่มเพาะรายบุคคล ร่วมกับศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ เพื่อเป็นแผนในการดำเนินกิจกรรมบ่มเพาะภายในระยะเวลาที่กำหนด รวมถึงบันทึกข้อตกลงการเข้ารับการบ่มเพาะด้วย
- ผู้เข้ารับการบ่มเพาะ ต้องจัดให้มีแผนธุรกิจเบื้องต้น ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินการบ่มเพาะภายใน 3 เดือนแรก นับจากวันที่ได้รับการคัดเลือกเข้ารับการบ่มเพาะแล้ว
- การขอรับคำปรึกษาจากที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ ผู้เข้ารับการบ่มเพาะจะต้องกรอกแบบฟอร์ม เพื่อแสดงความจำนง และระบุความต้องการให้ชัดเจน
หากมีค่าใช้จ่าย หรือกิจกรรมนอกเหนือจากแผนการบ่มเพาะรายบุคคล ที่ผู้เข้ารับการบ่มเพาะต้องการ ให้แจ้งความจำนงต่อศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ เพื่อนำเสนอให้พิจารณาเป็นกรณีๆ ไป - ผู้เข้ารับการบ่มเพาะ จะสามารถนำชื่อ ตราสัญลักษณ์ของหน่วยงาน และ/หรือโครงการหน่วยบ่มเพาะวิสากิจในสถาบันอุดมศึกษา ในการประชาสัมพันธ์ โฆษณาในเชิงธุรกิจ และอื่นๆ เฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนาจากศูนย์บ่มเพาะธุรกิจเท่านั้น และจะต้องทำหนังสือขออนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากศูนย์บ่มเพาะธุรกิจก่อนทุกครั้ง หากพบว่ามีการแอบอ้างชื่อ หรือสัญลักษณ์ของหน่วยงาน และ/หรือโครงการ ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจขอสงวนสิทธิในการดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
- ผู้เข้ารับการบ่มเพาะ จะต้องให้ความร่วมมือกับศูนย์บ่มเพาะฯ ในการให้ข้อมูลอันจะเป็นประโยชน์ต่อการบ่มเพาะ
- ผู้เข้ารับการบ่มเพาะ จะต้องให้ความร่วมมือกับศูนย์บ่มเพาะ ในการติดตาม ประเมินผล รวมถึงผลสัมฤทธิ์ในระหว่างการเข้ารับการบ่มเพาะ และภายหลังการบ่มเพาะ
สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ
- การให้บริการด้านพื้นที่สำนักงาน สาธารณูปโภค และสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการเริ่มต้นธุรกิจ
- พื้นที่สำหรับนั่งทำงาน พบปะ รวม
- พื้นที่สำหรับใช้เป็นสำนักงานเพื่อเริ่มต้นธุรกิจ
- พื้นที่สำนักงานให้เช่าสำหรับใช้ในการดำเนินธุรกิจ
- ห้องประชุม
- การให้บริการคำปรึกษาแนะนำเบื้องต้น
- การให้คำแนะนำในการจัดทำรูปแบบธุรกิจ (Business Model) และแผนธุรกิจ
- การให้คำแนะนำในการเริ่มต้นธุรกิจ
- การให้คำแนะนำในการหาผู้ร่วมทุน
- การให้คำแนะนำในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน
- การสนับสนุนด้านการตลาด และประชาสัมพันธ์
- การให้บริการคำปรึกษาแนะนำเฉพาะด้าน
- การให้คำปรึกษาเฉพาะด้านในเชิงลึกให้กับผู้เข้ารับการบ่มเพาะแต่ละราย ตามความเหมาะสม โดยพิจารณาจากผลการวิเคราะห์ผู้เข้ารับการบ่มเพาะ และแผนการบ่มเพาะรายบุคคล ศูนย์บ่มเพาะจะจัดพี่เลี้ยง และที่ปรึกษาให้กับผู้เข้ารับการบ่มเพาะ เช่น การวางแผนธุรกิจเชิงกลยุทธ์ การจัดทำแผนการตลาด การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การวางแผนการผลิต การวางแผนการเงิน
ทั้งนี้จะรวมถึงการจัดอบรมเฉพาะด้านให้กับผู้เข้ารับการบ่มเพาะตามความเหมาะสมด้วย
ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ
โครงการหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา หรือ University Business Incubator (UBI) ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ซึ่งเริ่มเมื่อปี พ.ศ. 2559 ปัจจุบัน สกอ. ได้จัดตั้ง UBI แล้ว จำนวน 62 แห่ง และอยู่ระหว่างการบ่มเพาะเป็นหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจใหม่ อีก 10 แห่ง และในปี 2559 สกอ. ได้สนับสนุนให้สถาบันอุดมศึกษาจัดตั้งเพิ่มอีกไม่น้อยกว่า 4 แห่ง วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก เป็นสถาบันหนึ่งที่ได้รับการสนับสนุนตามโครงการจัดตั้งหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา ปีงบประมาณ 2559 ด้วย
การจัดตั้งหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ หรือ UBI ขึ้นในวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก โดยใช้ชื่อว่า “ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก” ซึ่งจะเป็นหน่วยงานที่เป็นกลไกสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนให้เกิดสังคมผู้ประกอบการ (Entrepreneur Society) ขึ้นในวิทยาลัยพร้อมทั้งวิทยาลัยมีการเปิดสอนหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต กลุ่มวิชาผู้ประกอบการ ซึ่งจะเป็นหน่วยผลิตผู้ประกอบการ และส่งต่อผู้ที่สำเร็จการศึกษาเข้าสู่หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจวิสาหกิจได้เป็นอย่างดี และยังเป็นส่วนสนับสนุนการสร้างความตระหนักด้านการเป็นผู้ประกอบการผ่านกิจกรรมของของคณะได้เป็นอย่างดี พร้อมทั้งตอบสนองวิสัยทัศน์ และพันธกิจของวิทยาลัยที่เน้นเรื่องการผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติด้านการจัดการ นวัตกรรมและเทคโนโลยีโดยหน่วยบ่มเพาะจะมีส่วนในการสร้างความตระหนัก แรงจูงใจ ให้กับนักศึกษา อาจารย์ และบุคลากร รวมถึงการพัฒนาทักษะการเป็นผู้ประกอบการ การอบรมให้ความรู้พื้นฐานทางด้านธุรกิจ และกิจกรรมต่างๆ ที่จะสนับสนุนให้เกิดนักธุรกิจรุ่นใหม่และธุรกิจใหม่ รวมถึงผู้ประกอบการต่างๆ ภายนอกรั้ววิทยาลัย จะได้มีโอกาสได้เข้ามาใช้บริการทั้งด้านองค์ความรู้ของวิทยาลัย และการให้บริการต่างๆ
วิสัยทัศน์ (Vision)
“เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ เพื่อสร้างผู้ประกอบการที่มีคุณภาพ สู่การแข่งขันระดับประเทศ”
พันธกิจ (Mission)
- ส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการรุ่นใหม่ให้ประสบความสำเร็จในธุรกิจเพื่อการแข่งขันระดับประเทศ
- ส่งเสริมและพัฒนานักศึกษาและอาจารย์ให้มีศักยภาพและทักษะการเป็นผู้ประกอบการ
ส่งเสริมให้นักศึกษาและอาจารย์ นำผลงานมาพัฒนาเพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
จัดตั้ง Student Entrepreneurs Club เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่หลากหลายระหว่างสาขาวิชาและจากผู้ประกอบการภายนอก
วัตถุประสงค์
เพื่อเป็นหน่วยงานที่สนับสนุนส่งเสริมให้อาจารย์ นักศึกษา บุคลากรของวิทยาลัย และผู้ประกอบการ บุคคลภายนอก เกิดความตระหนักให้ความสำคัญของการเป็นผู้ประกอบการและการนำผลงานวิจัยไปประยุกต์ใช้ในเชิงพาณิชย์
เพื่อส่งเสริมให้นำผลงานวิจัย / พัฒนานวัตกรรม เทคโนโลยี และศักยภาพด้านวิชาการของสถาบันอุดมศึกษามาเชื่อมต่อกับโลกธุรกิจอุตสาหกรรม เพื่อพัฒนาสู่การสร้างผู้ประกอบการใหม่
เพื่อส่งเสริมให้นิสิต นักศึกษา บัณฑิต และบุคลากร เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมของศูนย์บ่มเพาะธุรกิจที่จัดตั้งขึ้น และพัฒนาสู่การเป็นผู้ประกอบการที่มีศักยภาพสูง
เพื่อเสริมสร้างและบ่มเพาะผู้ประกอบการใหม่ ให้มีศักยภาพในการขอรับการสนับสนุนการพัฒนาธุรกิจจากหน่วยงานของรัฐอื่นๆ และสถาบันการเงิน ตามนโยบายของรัฐบาล เพื่อพัฒนาขีดความสามารถเชิงการแข่งขันและการเติบโตทางธุรกิจอย่างเข้มแข็ง
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. เกิดผู้ประกอบการรายใหม่และสร้างความแข็งแกร่งให้กับผู้ประกอบการรายเดิมจากการเข้ารับการบ่มเพาะ SBubic
2. มีนักศึกษา อาจารย์และบุคคลทั่วไป เข้าร่วมกิจกรรมของ SBubicและเปลี่ยนทัศนคติและเปลี่ยนสถานะเป็นผู้ประกอบการ
3. มีผลงานวิจัยของนักศึกษาและอาจารย์ ต่อยอดสู่การผลิตหรือแก้ไขปัญหาเชิงพาณิชย์เพิ่มขึ้นและมีผลงานโครงการและวิจัยของนักศึกษาและอาจารย์จดแจ้ง สิทธิบัตรเพิ่มขึ้น
4. เกิดการบ่มเพาะธุรกิจที่เกิดผลกระทบต่อส่วนรวม เพื่อลดปัญหาของสังคมได้
ติดต่อหน่วยงาน
- 0 2744 7356-65 ต่อ 164-166
- sbubi@southeast.ac.th
พื้นที่สำนักงานสำหรับการเริ่มต้นธุรกิจ
Shared Office Space (Co working Space)
ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก ได้จัดให้มีพื้นที่สำนักงาน หรือ Co-Working Space สำหรับผู้ที่จะเริ่มต้นธุรกิจ (Start-up) เพื่อเป็นการลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในเรื่องของสำนักงานในการเริ่มต้นธุรกิจ โดยจัดเตรียมพื้นที่ พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เพื่อให้ผู้มาใช้บริการสามารถใช้เป็นสำนักงานได้ ดังนี้
Common Space เป็นพื้นที่รวมสำหรับผู้ที่ยังไม่พร้อมในการใช้พื้นที่สำนักงานส่วนตัว หรือผู้ที่มีสำนักงานอยู่แล้ว แต่ต้องการเข้ามาใช้บริการในการ ปฏิบัติงาน พบปะ หรือติดต่อสื่อสาร
Private Space SBubi จะมีพื้นที่ทำงานส่วนตัวสำหรับผู้ใช้บริการขนาด 2.5 x 4.0 เมตร ในกรณีที่ต้องการพื้นที่เป็นส่วนตัว
Rentable Office Space SBubi จัดให้มีพื้นที่สำนักงานส่วนตัว ขนาด 32 และ 64 ตารางเมตร ให้บริการกับผู้ประกอบการที่ต้องการเช่าใช้เป็นพื้นที่ สำนักงาน และใช้บริการต่างๆ ของ SBubi โดยจะคิดค่าเช่าในอัตราที่ต่ำกว่าท้องตลาด และเป็นไปตามเงื่อนไขของ SBubi
Virtual Office ให้บริการสำหรับผู้ประกอบการเริ่มต้น หรือผู้ประกอบการที่ต้องใช้ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ ของวิทยาลัย/ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจในการ ติดต่อสื่อสาร รวมถึงจัดให้มีเจ้าหน้าที่ต้อนรับ
Reception คอยให้บริการทั้งการรับเอกสาร และโทรศัพท์ในกรณีที่มีผู้ติดต่อเข้ายัง บริษัทของผู้รับบริการ รวมถึงผู้ประกอบการยังสามารถเข้ามาใช้บริการ Co-Working Space และบริการอื่นๆ ของ SBubi ได้อีกด้วย
ทั้งนี้ผู้ใช้บริการจะได้รับบริการ Reception ส่วนกลาง และ Office Utilities เช่น Wi-fi Internet, เครื่องพิมพ์ส่วนกลาง (ขาว-ดำ), เครื่องถ่ายเอกสาร เป็นต้น และยังจัดให้มีห้องประชุม ห้องฝึกอบรม ไว้ให้บริการอีกด้วย
Southeast Bangkok University
- ที่ตั้งบางนา
298 ถ.สรรพาวุธ แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260
- : 02 744 7356-65
- : 02 398 1356
- ที่ตั้งบางพลี
45/5หมู่19 ซ.รุ่งเรือง ถ.บางพลี-ตำหรุ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ 10540
- : 02 382 5620-4
- : 02 174 5069
Service
บริการนักศึกษา
บริการจอง Learning Studio
บริการพื้นที่ให้เช่า
SBU E-mail
ตรวจสอบงานวิจัย
SBU Online Learning (LMS)
หน่วยงาน
สถาบันการศึกษาในเครือ
โรงเรียนอรรถวิทย์
มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก