จะเป็นอย่างไร? ในยุคที่ AI ทำงานแทนมนุษย์

กับความต้องการของตลาดแรงงานด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และนวัตกรรม ในปัจจุบันพวกเราทุกคนคงรู้จัก AI (Artificial Intelligence) หรือ ปัญญาประดิษฐ์ที่ถูกออกแบบให้มีระบบทำงานเหมือนกับการทำงานของสมองมนุษย์ และเป็นเทคโนโลยีที่เข้ามา Disrupt หลายอุตสาหกรรม และหลากหลายอาชีพ อีกทั้งยังมีบทบาทในปัจจุบันและอนาคต ปัจจุบันจึงมีความต้องการของตลาดแรงงานรวมไปถึงอนาคตอีกด้วย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และนวัตกรรม วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก เล็งเห็นความสำคัญจึงมีการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องและตอบสนองความต้องการในยุคปัจจุบัน

การเปลี่ยนแปลงสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 ด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะต่าง ๆ

จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีภายในประเทศที่ต้องปรับเปลี่ยนสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยก้าวข้ามกับดักรายได้ปานกลาง สู่ยุค Thailand 4.0 เพื่อเพิ่มรายได้ให้สูงขึ้น ในการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในภาคอุตสาหกรรมส่งผลต่อการพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะความรู้ใหม่ๆ เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านสู่การใช้เทคโนโลยีแบบบูรณาการศาสตร์ขั้นสูงขึ้น รวมถึงการกำหนดกลุ่มอาชีพใหม่ของคนยุคใหม่ให้ตอบสนองความต้องการของแรงงานอุตสาหกรรมให้มีทักษะอาชีพตรงกับความต้องการของตลาดงาน และเพื่อให้สอดคล้องตามแนวทาง First S-Curve ได้แก่ เกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ ยานยนต์สมัยใหม่  อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะและ New S-Curve ได้แก่ อุตสาหกรรมดิจิทัล การบินและโลจิสติกส์ หุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม ที่พัฒนาความรู้และทักษะการใช้เครื่องมือในการสร้างนวัตกรรมทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและเทคโนโลยีสารสนเทศ

First S-Curve & New S-Curve อยากรู้มั้ยคืออะไร ? ไปดูกัน !!!

First S-Curve? คือ การพัฒนาอุตสาหกรรมเดิม ให้เป็นการพัฒนานวัตกรรมกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีอยู่แล้วในประเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปัจจัยการผลิต โดยการพัฒนานวัตกรรมในกลุ่มอุตสาหกรรมนี้จะส่งต่อการเติบโตของเศรษฐกิจในระยะสั้นและระยะปานกลาง ซึ่งประกอบด้วย

  1. 1. อุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต (Next-Generation Automotive)
  2. 2. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (Smart Electronic)
  3. 3. อุตสาหกรรมท่องเที่ยวระดับคุณภาพ (Affluent, Medical and Wellness Tourism)
  4. 4. อุตสาหกรรมเกษตรเชิงประสิทธิภาพและเทคโนโลยีชีวภาพ (Agriculture and Biotechnology)
  5. 5. อุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคต (Food for the Future)

New S-Curve ? คือ การพัฒนานวัตกรรมในอุตสาหกรรมใหม่ เพื่อสร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบสินค้าและเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า ซึ่งคาดหวังว่าอุตสาหกรรมใหม่นี้จะเป็นกลไกสำคัญของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ (Growth engine) ในทศวรรษหน้า ในอุตสาหกรรมใหม่ (New S-Curve) มีทั้งหมด 5 กลุ่ม ได้แก่

  1. 1. อุตสาหกรรมหุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม (Robotics and Automation)
  2. 2. อุตสาหกรรมการขนส่งและการบิน (Aviation)
  3. 3. อุตสาหกรรมชีวภาพ : พลังงานและเคมีชีวภาพ (Biofuels and Biochemicals)
  4. 4. อุตสาหกรรมดิจิตอล (Digital)
  5. 5. อุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพ (Medical Hub)

เรามาดูอาชีพใหม่ อาชีพในอนาคตของคนยุคใหม่ New Career New Generation

จากสถานการณ์โควิด 19 ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันส่งผลให้ผู้ประกอบการในทุกภาคส่วนได้มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาทดแทนกำลังคนมากยิ่งขึ้น ดังนั้นจึงทำให้เกิดอาชีพใหม่ ๆ ขึ้น และอาชีพที่กำลังมีความต้องการในปัจจุบันและอาชีพอนาคตที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และนวัตกรรม ผู้ประกอบการมีความต้องการบุคลากรที่มีทักษะ ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทางด้าน IoT ทางด้านระบบอัตโนมัติในงานอุตสาหกรรม ทางด้านการเกษตรอัจฉริยะ เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันเป็นสาขาอาชีพที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้และทักษะเป็นจำนวนมาก เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้ประกอบการและตลาดงานทั้งในปัจจุบันและอนาคต

  1. IoT engineering technicians หรือวิศวกรที่ทำงานเกี่ยวกับเทคโนโลยีด้านอินเทอร์เน็ตเป็นตำแหน่งที่มีหน้าที่ในการพัฒนา วิจัย ออกแบบ ตรวจสอบ และดูแลรักษาแพลตฟอร์ม (Platform), ชิป (chip), เซ็นเซอร์ (sensor) รวมถึงสมาร์ทแท็ก (smart tag) ให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพตามที่ได้มีการวิเคราะห์และออกแบบมาด้วย
  2. IoT Installation Commissioners: ช่างติดตั้งระบบ IoT มีหน้าที่ในการติดตั้งและตรวจสอบแก้ไขจุดบกพร่องในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในระบบ IoT ให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและตรงตามจุดประสงค์
  3. Industrial Robotics Maintenance Staff: ช่างบำรุงรักษาระบบหุ่นยนต์ในงานอุตสาหกรรม ทำหน้าที่ควบคุมระบบหุ่นยนต์ และทำหน้าที่ติดตั้งและดูแลบำรุงรักษาระบบหุ่นยนต์ เช่น ระบบผลิตข้าวกล่องอัตโนมัติ, ระบบคลังสินค้าอัตโนมัติ, ระบบโลจิสติกส์-คัดแยกพัสดุโดยอัตโนมัติด้วยหุ่นยนต์
  4. Agricultural Managers: ผู้จัดการด้านการเกษตร ทำหน้าที่จัดการวางแผนธุรกิจการเกษตร ตั้งแต่วางแผนด้านต้นทุน การนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในงานด้านการเกษตร
  5. Unmanned Aerial Vehicle (UAV) Pilots / Drone Pilots: นักบินโดรนและอากาศยานไร้คนขับ

มีหน้าที่ควบคุมโดรน เพื่อส่งของ เพื่อใช้งานทางด้านเกษตรอัจฉริยะ เป็นต้น

เซาธ์อีสท์บางกอกเราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับเทคโนโลยีอัจฉริยะและนวัตกรรมแห่งอนาคต

กับ 3 กลุ่มรายวิชา ที่สาขาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และนวัตกรรม

มา…เตรียมความพร้อมและตอบสนองต่อความต้องการในอนาคต ด้วยนโยบายของภาครัฐที่ส่งเสริมให้ประเทศไทยเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 ทางหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และนวัตกรรม จึงมุ่งเน้นจัดการเรียนการสอนให้แก่นักศึกษาได้เรียนรู้รายวิชาต่าง ๆ โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มรายวิชาดังนี้

1.กลุ่มอุตสาหกรรมอัจฉริยะ (Smart  Industrial)

– อิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม (Industrial Electronics)

– ระบบอัจฉริยะในกระบวนการผลิตอัตโนมัติ (Intelligent Systems for Automatic Production)

– เทคโนโลยีหุ่นยนต์และการประยุกต์ใช้ (Robot Technology and its Applications)

  1. กลุ่มเกษตรอัจฉริยะ (Smart Farm)

– การจัดการโรงเรือนอัจฉริยะ (Smart House Management)

– การพัฒนาซอฟต์แวร์สําหรับเกษตรอัจฉริยะ (Software Development for Smart Farm)

– นวัตกรรมและเกษตรกรรมแม่นยํา (Innovation and Precision Agriculture)

  1. กลุ่มสำนักงานอัจฉริยะ (Smart Office)

– เทคโนโลยีเซนเซอร์และการประยุกต์ใช้งาน (Sensor Technology and its Applications)

– การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์สําหรับสํานักงานอัจฉริยะ (Computer Programming for Smart  Office)

– เทคโนโลยีไฟฟ้าสําหรับระบบอาคารอัจฉริยะ (Electrical Technology for Smart Building)

“วิทยาลัยเซาธ์อีสบางกอก” เรามุ่งเน้นการพัฒนาหลักสูตรทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อให้ครอบคลุมความต้องการแรงงานด้านต่าง ๆ โดยสาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และนวัตกรรมได้พัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนเพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้และพัฒนาทักษะทางด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่ อีกทั้งยังมุ่งเน้นให้นักศึกษาสามารถผลิตผลงานสร้างสรรค์ และผลงานทางด้านนวัตกรรม โดยนักศึกษาจะได้เรียนรู้และทดลองทางด้านเกษตรอัจฉริยะในแปลงทดลองการเกษตร(Smart Farm) ฝึกทดลองทางด้านสมาร์ทโฮม(Smart Home) และฝึกสร้าง Robot Smart Car รวมถึงเขียนโปรแกรมควบคุมการทำงานระบบอัตโนมัติสำหรับใช้งานในภาคอุตสาหกรรมอีกด้วย ภายใต้การดูแลของคณาจารย์ที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อสร้างบัณฑิตนักปฏิบัติที่สามารถทำงานและประยุกต์ใช้ทักษะและองค์ความรู้ในองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน และมุ่งผลิตบุคลากรทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และนวัตกรรม ซึ่งสามารถพัฒนางานวิจัยทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และนวัตกรรม ตลอดจนพัฒนากำลังคนตามความต้องการของโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) และต่อประเทศชาติ

หากน้อง ๆ มีคำถาม หรือสนใจหลักสูตรปรับปรุงใหม่ สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์รับสมัครและแนะแนวการศึกษา วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก โทร 0 2744 7356 – 65 ต่อ 100 – 106 เรายินดีให้คำปรึกษาและตอบคำถามต่าง ๆ ให้น้อง ๆ และทุกท่านที่สนใจค่ะ มาเป็นครอบครัวเดียวกัน “เซาธ์อีสท์บางกอก เราสร้างบัณฑิตนักปฏิบัติมืออาชีพ”