ประกาศ


แนะนำ หลักสูตร บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต

สร้างคนคุณค่า เสริมพลังพัฒนาธุรกิจ

หนึ่งในวัตถุประสงค์หลักของการศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษาของใครหลายคน คือการเพิ่มศักยภาพตนเอง เพื่อกลับไปเป็นบุคลากรคุณภาพและมีคุณค่าให้กับองค์กรของตน วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก จึงมุ่งมั่นสร้างสรรค์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต หรือหลักสูตร M.B.A. ที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้เรียนในด้านนี้ให้ได้มากที่สุด

และผู้หนึ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนภารกิจนี้ให้ใกล้เคียงความจริงให้มากที่สุด คือ

ดร.ภูษิตย์ วงษ์เล็ก คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก โดยอาจารย์ได้ก้าวเข้าสู่เส้นทางงานด้านการบริหารการศึกษาด้วยการทำงานในหลายตำแหน่ง เริ่มตั้งแต่การเป็นเลขานุการบัณฑิตวิทยาลัย แล้วเปลี่ยนไปดูแลงานด้านควบคุมคุณภาพงานวิจัย ในฐานะหัวหน้าสำนักวิจัย กระทั่งได้ก้าวเข้าสู่ตำแหน่งปัจจุบัน ซึ่งทุกตำแหน่งที่กล่าวมานี้เอง ที่เปิดโอกาสให้ ดร.ภูษิตย์ได้ “Learning by Doing” จนสามารถเข้าถึงหัวใจสำคัญของการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษาของวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก

ได้เป็นอย่างดี คณบดีท่านนี้มองว่า หลักสูตร M.B.A. ของวิทยาลัยฯ จะประสบความสำเร็จเป็นที่ยอมรับทั้งจากผู้เรียน สถานประกอบการ และสังคมโดยรวมได้ ต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรผู้สอนเป็นลำดับแรก ด้วยความเชื่อว่า เมื่อได้แม่พิมพ์ที่ดี สินค้าหรือผลิตภัณฑ์นั้นย่อมออกมาสวยงามและมีคุณภาพดีตามไปด้วย

“จากการทำงานวิจัยในช่วงเรียนปริญญาเอกด้านบริหารอาชีวศึกษา ที่สถาบันพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังนี้เอง ที่ผมได้มีโอกาสไปสำรวจความคิดเห็นของผู้อำนวยการโรงเรียนหลายแห่งที่ประสบความสำเร็จ ทำให้ผมได้คำตอบของคำถามที่สงสัยมานานว่า ไม่ว่าจะเป็นสถาบันการศึกษาของรัฐหรือเอกชน ปัจจัยสำคัญอะไรที่ทำให้สถาบันการศึกษานั้นประสบความสำเร็จ เป็นที่ยอมรับในสังคม ก็พบว่ามี 2 ปัจจัยหลักอันดับแรกคือคุณภาพของบุคลากรผู้สอนเพราะฉะนั้นการบริหารการศึกษาบัณฑิตศึกษาของวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอกของเราจึงให้ความสำคัญกับการคัดเลือกคณาจารย์ที่พร้อมทั้งความรู้ด้านทฤษฎี มีวิธีการสอนที่เป็นเอกลักษณ์ ทำให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนได้รวมถึงมีความรู้จากประสบการณ์การทำงานจริงเพื่อมาแชร์ให้ผู้เรียนในชั้นเรียนด้วย”

โดย ดร.ภูษิตย์ ได้อธิบายต่อถึงกลไกที่เขาใช้ เพื่อบริหารจัดการด้านบุคลากรผู้สอนซึ่งก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจได้จริง ดังนี้

Not “teaching” but We’re Coaching

คณบดีบัณฑิตวิทยาลัยของ SBC. ย้ำถึงหลักการสอนที่นี่ว่า เรากำหนดให้คณาจารย์อยู่ในฐานะ Coach ของผู้เรียน ไม่ใช่เป็นแค่ Teacher หรือแม้แต่ Lecturer ในชั้นเรียนเท่านั้น แต่อาจารย์ต้องชี้แนะในสิ่งที่ผู้เรียนควรรู้ และแชร์ประสบการณ์ของตัวเองให้กับผู้เรียน เพราะ Key of Success ของการจัดการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา คือ ผู้เรียนต้องได้ประโยชน์มากที่สุด โดยเฉพาะในชั้นเรียนผู้สอนต้องทำให้ผู้เรียนอยาก discuss และมีParticipate ในชั้นเรียนได้ด้วย

Team Teaching in Every Classes

ในทุกวิชาของการเรียน M.B.A. ที่นี่ผู้เรียนจะได้เรียนรู้กับอาจารย์มากกว่า 1 ท่านอย่างแน่นอน เพราะ SBC. มองถึงประโยชน์สูงสุด ที่ผู้เรียนจะได้รับจากอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญในหลากหลายด้าน โดยในวิชาหนึ่งอย่างน้อยจะมีอาจารย์หลัก 1-2 ท่าน และมีการเชิญ Guest Speaker ที่มีความรู้ความสามารถมาแชร์ประสบการณ์การทำงานจริงให้ผู้เรียนได้ฟัง เพื่อพวกเขาจะได้นำไปปรับใช้ในการทำงานของตนได้

เสริมทักษะภาษาอังกฤษให้ผู้เรียนตลอดเวลา

ด้วยความตระหนักว่า ภาษาอังกฤษเป็นทักษะสำคัญที่ต้องเสริมสร้างให้บัณฑิต M.B.A. ของ SBC. ทางบัณฑิตวิทยาลัยจึงกำหนดชัดเจนให้ผู้สอนต้องสอดแทรกเนื้อหาการสอนเป็นภาษาอังกฤษไปในวิชาเรียน 30% เสมอ และเพื่อให้ผู้เรียนได้ปรับตัว อาจารย์จะต้องส่งไฟล์การเรียนการสอนล่วงหน้าให้กับผู้เรียน ซึ่งที่ผ่านมา พบว่าด้วยวิธีนี้ทำให้ผู้เรียนสามารถเตรียมตัวก่อนเข้าเรียนได้ดีและยังสอดรับเป็นอย่างดีกับไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ที่มักจะเปิดดูไฟล์นี้ได้เลยจากแท็บเล็ตส่วนตัวของพวกเขาด้วย

Friendly Atmosphere for our staffs

ในฐานะผู้บริหารบัณฑิตวิทยาลัย ดร.ภูษิตย์ เข้าใจดีว่า หากต้องการให้อาจารย์มีกำลังใจในการทำงานและสอนได้อย่างมีคุณภาพนั้น ก็ต้องดูแลอาจารย์ทุกคนให้ “อยู่ดีมีสุข” ด้วย ไม่ว่าจะเป็นการจัดสวัสดิการให้อาจารย์ตามสมควร รวมถึงหากอาจารย์ท่านใดมีภาระต้องทำงานวิจัย ก็ต้องจัดภาระการสอนให้พอดี ไม่หนักจนเกินไปนัก เพื่อสร้างบรรยากาศที่ดีให้กับอาจารย์สามารถผลิตทั้งงานวิจัยและคงคุณภาพการสอนที่ดีมีไว้ให้ได้มากที่สุด

นอกจากนั้น ดร.ภูษิตย์ ยังได้เสนอมุมมองด้านการปรับปรุงการศึกษาดูงานในระดับบัณฑิตศึกษาให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้เรียนด้วย โดยคณบดีท่านนี้มองว่า การศึกษาดูงานต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นในสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียง หรือสถานประกอบการชั้นนำนั้น เป็นการลงทุนที่อาจให้ผลตอบแทนไม่คุ้มค่าเท่าการศึกษาดูงานสถานประกอบการที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย ซึ่งในปัจจุบันมีนักลงทุนข้ามชาติสนใจเข้ามาลงทุนในประเทศเรามาก ทำให้ธุรกิจหลายด้านมีการเจริญเติบโตไม่แพ้ธุรกิจในประเทศอื่น หากผู้เรียนมีโอกาสได้เข้าไปศึกษากระบวนการดำเนินธุรกิจจริงๆ เชื่อว่าจะได้รับความรู้ที่สามารถนำไปปรับใช้กับการทำงานจริงของพวกเขาได้แน่นอน

อาจารย์ ต้องชี้แนะในสิ่งที่ผู้เรียน ควรรู้ และแชร์ประสบการณ์ของ ตัวเองให้กับผู้เรียน เพราะ Key of Success ของการจัดการ ศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา คือ ผู้เรียนต้องได้ประโยชน์มากที่สุด

หลักสูตร บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
Master of Business Administration Program

ชื่อปริญญา
ชื่อเต็มภาษาไทย : บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
ชื่อย่อภาษาไทย : บธ.ม.
ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ : Master of Business Administration
ชื่อย่อภาษาอังกฤษ : M. B. A.

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

  • เพื่อผลิตมหาบัณฑิตให้มีความรู้ในโครงสร้าง แนวคิดทางธุรกิจและหลักวิชาการทางธุรกิจ สามารถนำความรู้ และทฤษฎีต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจ และบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีศักยภาพ มีความรู้ ความสามารถ และทักษะสูงในด้านบริหารธุรกิจ เพื่อรองรับกับสภาพการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ และการเจริญเติบโตของประเทศ
    เพื่อผลิตมหาบัณฑิตให้มีความรับผิดชอบ มีคุณธรรม รู้จักแก้ปัญหา มีจิตสำนึกที่จะดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม มีความเป็นผู้นำในวงการธุรกิจและสังคมทั้งภายในและระหว่างประเทศ

การวัดผลเพื่อสำเร็จการศึกษา

  • การวัดผลและการสำเร็จการศึกษา ให้เป็นไปตามระเบียบวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอกว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา 2558

  • หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต M.B.A
  • สาขาวิชาการบัญชี
  • สาขาวิชาการจัดการ
  • สาขาวิชาการตลาดดิจิทัล

หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร

  • แผน กแบบ ก 1    36  หน่วยกิต
  • แผน กแบบ ก 2    36  หน่วยกิต
  • แผน ข                  36  หน่วยกิต

โครงสร้างหลักสูตร

1)  แผน ก แบบ ก 1:  วิทยานิพนธ์

  • หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน   ไม่นับหน่วยกิต
  • วิทยานิพนธ์ 36  หน่วยกิต
  • รวม 36  หน่วยกิต

2)   แผน ก แบบ ก 2:  วิทยานิพนธ์

  • หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน    ไม่นับหน่วยกิต
  • หมวดวิชาบังคับ 18 หน่วยกิต
  • หมวดวิชาเลือก 6 หน่วยกิต
  • วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต
  • รวม 36 หน่วยกิต

3)   แผน ข:  ไม่มีวิทยานิพนธ์

  • หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน   ไม่นับหน่วยกิต
  • หมวดวิชาบังคับ 18 หน่วยกิต
  • หมวดวิชาเลือก  12 หน่วยกิต
  • วิชาการค้นคว้าอิสระ หน่วยกิต
  • รวม 36 หน่วยกิต

หมวดวิชาเลือก (Elective Courses)

  1. กลุ่มวิชาการตลาด
  2. กลุ่มวิชาการเป็นผู้ประกอบการ
  3. กลุ่มวิชาการจัดการอุตสาหกรรม
  4. กลุ่มวิชาการจัดการสมัยใหม่
  5. กลุ่มวิชาการบริหารองค์กรการศึกษา
  6. กลุ่มวิชาการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม
  7. กลุ่มวิชาการจัดการธุรกิจดิจิทัล
  8. กลุ่มวิชาการบัญชีบริหาร

โครงสร้างหลักสูตรสาขาวิชาการบัญชี

จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 129  หน่วยกิต

  1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
  2. หมวดวิชาเฉพาะ 93 หน่วยกิต
    – กลุ่มวิชาแกน 39 หน่วยกิต
    – กลุ่มวิชาเอกบังคับ 33 หน่วยกิต
    – กลุ่มอัตลักษณ์ 12 หน่วยกิต
    – กลุ่มวิชาเอกเลือก 9 หน่วยกิต
  3. หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต

โครงสร้างหลักสูตรสาขาวิชาการจัดการ

จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร  126  หน่วยกิต

  1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
  2. หมวดวิชาเฉพาะ 90 หน่วยกิต
    -กลุ่มวิชาแกน  30 หน่วยกิต
    -กลุ่มวิชาเอก 60 หน่วยกิต
    – วิชาเอกบังคับ 45 หน่วยกิต
    -วิชาเอกเลือก 15 หน่วยกิต
  3. หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต

 โครงสร้างของหลักสูตรสาขาวิชาการตลาดดิจิทัล

จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร  123  หน่วยกิต

  1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
  2. หมวดวิชาเฉพาะ 87 หน่วยกิต
    2.1)  วิชาพื้นฐานวิชาชีพ 30 หน่วยกิต
    2.2)  วิชาชีพ 57 หน่วยกิต
    (2.2.1) วิชาชีพ-บังคับ 42 หน่วยกิต
    (2.2.2) วิชาชีพ-เลือก 15 หน่วยกิต
  3. หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต