ประกาศ
แนะนำ คณะโลจิสติกส์และเทคโนโลยีการบิน
คณะโลจิสติกส์และเทคโนโลยีการบิน (Faculty of Logistics and Aviation Technology) ซึ่งจากเดิมเป็นสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ อยู่ภายใต้คณะบริหารธุรกิจ ต่อมาในปีการศึกษา 2560 ได้ปรับเปลี่ยนเป็น คณะโลจิสติกส์และเทคโนโลยีการบิน โดยมีสถานที่ตั้งอยู่ เลขที่ 298 ชั้น 6 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก ถนนสรรพาวุธ แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ 0-2744-7356-65 ต่อ 167-168 โทรสาร 0-2398-1356
ปัจจุบัน วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก มีการบริหารงานโดย ดร.สมศักดิ์ รุ่งเรือง ตำแหน่ง อธิการบดี เป็นผู้รับใบอนุญาต และนายชนะ รุ่งแสง เป็นนายกสภาวิทยาลัย ถือกำเนิดขึ้นมาด้วยปณิธานแน่วแน่ในการสร้างคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่มีศักยภาพและสมรรถนะระดับสากล ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2542 และสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาได้อนุญาตให้เปิดดำเนินการหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต รวมทั้งให้การรับรองวิทยฐานะสถาบันอุดมศึกษาเอกชน เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2543 โดยได้เปิดดำเนินการเรียนการสอนในภาคเรียนแรกของปีการศึกษา 2543 และได้เริ่มเปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาตรี 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (หลักสูตร 4 ปี) และหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (หลักสูตรต่อเนื่อง) โดยเปิดสอนรวม 3 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาการบัญชี, สาขาวิชาการตลาด และ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ปีการศึกษา 2549 ได้เปิดเพิ่มอีก 1 สาขาวิชาคือ สาขาวิชาการการจัดการโลจิสติกส์ และในปีการศึกษา 2555 ได้ดำเนินการปรับปรุงหลักสูตร สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ ซึ่งเป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และในปีการศึกษา 2559 สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ ได้ปรับเปลี่ยนเป็นคณะโลจิสติกส์และเทคโนโลยีการบิน โดยได้เปิดดำเนินการเรียนการสอนจำนวน 2 หลักสูตร ดังนี้
- หลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ (Department of Logistics Management)
- หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ต่อเนื่อง) สาขาวิชาการจัดการการขนส่งสินค้าทางอากาศ (Department of Air cargo Management)
หลักสูตรและการรับรองหลักสูตร
การรับรองหลักสูตรและมาตรฐานการศึกษา วิทยาลัยได้รับรองจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาแล้ว ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้
- หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์
ได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษา เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2546
หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2551 เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2551
หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555 เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2556
หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560 เมื่อวันที่ ……………………………………..
- หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิตบัณฑิต (ต่อเนื่อง) สาขาวิชาการจัดการการขนส่งสินค้าทางอากาศ
ได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษา
สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็มภาษาไทย : บริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน)
ชื่อย่อภาษาไทย : บธ.บ. (การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน)
โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 129 หน่วยกิต
หมวดวิชาเฉพาะ 93 หน่วยกิต
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
คำอธิบาย
สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์เน้นให้นักศึกษามีความรู้ ในด้านการจัดการโลจิสติกส์ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติโดยเน้นให้มีความชำนาญในด้านประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและภาษาอังกฤษเพื่อให้สามารถประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งในระดับประเทศและระดับสากล
- โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความภักดีของลูกค้าที่ใช้บริการขนส่งพัสดุ
- การวิเคราะห์ต้นทุนด้านโลจิสติกส์สำหรับผู้ประกอบการกิจการขนส่งเอกชน กรณีศึกษา บริษัท ABC จำกัด
- การพัฒนาการจัดการโลจิสติกส์สำหรับการท่องเที่ยว จังหวัดสมุทรปราการ
- การประเมินประสิทธิภาพการให้บริการของพนักงานขนส่งผู้โดยสาร กรณีศึกษา สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (เอกมัย)
- การลดของเสียในกระบวนการผลิตอุปกรณ์โครงเหล็กคุ้มกันความปลอดภัยของรถยนต์
- การบูรณาการเทคนิค PERT/CPM เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน กรณีศึกษาเส้นทางไปท่องเที่ยววัดบางหัวเสือ
- ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติต่อการเป็นผู้ประกอบการกับคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร
- ระบบโลจิสติกส์ย้อนกลับเพื่อการจัดการซากหลอดฟลูออเรสเซนต์ในประเทศไทย
- The Impact of The Covid-19 Pandemic on Supply Chain Performance of The Auto Parts Industries of Thailand
- Study of Green Logistics Managing Potential and the Preparedness of Auto Parts Industries in Thailand
- ปัจจัยสู่ความสำเร็จการบูรณาการการเรียนรู้กับการทำงานระหว่างสถาบันอุดมศึกษากับสถานประกอบการในการพัฒนาด้านสมรรถนะของพนักงานฝ่ายผลิตในนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออก
- ปัจจัยลีนที่ส่งผลต่อการคลังสินค้าและการขนส่งเพื่อลดความสูญเปล่า
- การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการลดต้นทุนการขนส่งสินค้าตู้คอนเทนเนอร์ในท่าเรือแหลมฉบังโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เชิงลำดับ
- การวิเคราะห์รูปแบบการขนส่งระบบมิลค์รันแบบให้บริการคลังสินค้า กรณีศึกษาผู้ประกอบการผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักรการเกษตร
- พฤติกรรมการเลือกรูปแบบการเดินทางของนักศึกษาที่อาศัยอยู่ในเขตปริมณฑล เพื่อเข้ามาศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาในเขตเมือง
- Hierarchical model of service quality and its effect on consumers’perceived image, satisfaction and behavioural intentions : a study of Bangkok’s mass rapid transit systems, Thailand.
- Examining the relationships between service quality, perceived value, customer satisfaction and purchase intentions : a marketing study of Bangkok’s metropolitan rapid transit system, Thailand
- The Role of Marketing in Developing Successful Innovation Education in AEC Market
- The Causal Relationship of Performance of Sustainable Supply Chain Management in Electronic Appliance Industry: Literature Review. NRRU Community Research
- การศึกษาความเป็นองค์การ แห่งการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนของอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ.
- กลยุทธ์การพัฒนาศูนย์บ่มเพราะวิสาหกิจ วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก.
- Study of Reverse Logistics for Effective Management of Hazardous Waste in Thailand.
- ปัจจัยสู่ความสำเร็จของการบูรณาการการเรียนรู้กับการทำงานระหว่างสถาบันอุดมศึกษากับสถานประกอบการในการพัฒนาด้านสมรรถนะของพนักงานฝ่ายผลิตในนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออก
- การจัดการกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์เพื่อสร้างสัมพันธภาพระหว่างนักศึกษา อาจารย์ผู้สอนและพี่เลี้ยงโดยใช้เทคนิคการให้คำปรึกษาของนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ระบบทวิภาคี วิทยาลัยเทคโนโลยีตะวันออก (อี.เทค).
- A Review and Comparison of Leading Logistics and Supply Chain Management Software Packages.
- อิทธิพลของท่อผิวครีบที่มีแผ่นบิดส่งผลต่อการถ่ายเทความร้อน
- ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการขนส่งสินค้า
- ขาออก ของผู้ประกอบการ กรณีศึกษาท่าเรือกรุงเทพการจัดการโลจิสติกส์สำหรับการท่องเที่ยวในอำเภอเมือง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- Innovativeness as an Antecedents to Firm Supply Performance: The Mediating Role of Innovation Performance and Supply Chain Integration. International
- การลดของเสียในกระบวนการผลิตอุปกรณ์โครงเหล็กคุ้มกันความปลอดภัยของรถยนต์.
- ตัวแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของผลดำเนินการจัดการโซ่อุปทานอย่างยั่งยืนของอุตสาหกรรมอาหารทะเลแปรรูปในประเทศไทย.
- การประเมินประสิทธิภาพการให้บริการของพนักงานขนส่งผู้โดยสาร กรณีศึกษา สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (เอกมัย)
- การพัฒนาการจัดการโลจิสติกส์สำหรับการท่องเที่ยว จังหวัดสมุทรปราการ
การจัดการความรู้
เรื่อง การเขียนอย่างไรให้ได้ทุนภายใต้โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถ่ายทอดองค์ความรู้
การจัดการความรู้และถ่ายทอดองค์ความรู้ตามพันธกิจของคณะฯ เรื่อง “การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย : เขียนอย่างไรให้ได้ทุน” จัดขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 17 สิงหาคม 2560 ให้กับบุคลากรสายวิชาการ และ บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ โดยมี ดร.โศจิลักษณ์ กมลศักดาวิกุล ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนา เป็นผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้โดยสรุปผลการดำเนินงานได้ ดังนี้
1.เกณฑ์การพิจารณา
เงื่อนไขข้อเสนอการวิจัย (20 คะแนน)
- ตรงตามกรอบการวิจัยที่ วช. กำหนด
- การบูรณาการระหว่างสาขาวิชาการ
- การสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่
- หลักฐานรองรับว่ามีผู้ต้องการผลงานวิจัยหรือผู้ต้องการผลงานวิจัยให้ความร่วมมือ
ความเชื่อมโยงของโครงการวิจัย (60 คะแนน)
- ชื่อโครงการวิจัย
- ความสำคัญของที่มาของปัญหา
- ความชัดเจนของวัตถุประสงค์
- องค์ประกอบของคณะผู้บริหารโครงการวิจัย
- ความเชื่อมโยงของโครงการวิจัย
- แผนการบริการโครงการวิจัยและแผนการดำเนินงาน
ผลประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการวิจัย (20 คะแนน)
- ผลผลิต
- ผลลัพธ์
- ผลกระทบ
2.ลักษณะของโครงการวิจัยที่ดี
- ความถูกต้อง (Correctness) ถูกต้อง แม่นยำมีหลักฐานอ้างอิงที่สามารถตรวจสอบได้
- ความมีเหตุผลมั่นคง (Cogency) สาระสำคัญของโครงการวิจัยต้องมีเหตุผลแน่นหนา ชัดเจน ตรวจสอบได้
- ความกระจ่างแจ้ง (Clarity) ข้อความต้องชัดเจน ผู้อ่าน ผู้ประเมินคุณภาพ สามารถเข้าใจได้โดยไม่ต้องตีความหรือคาดคะเนความหมายของโครงการวิจัยนั้นๆ
- ความสมบูรณ์ (Completeness) ต้องมีสาระสำคัญครบถ้วนตามกำหนดของแต่ละสำนักตามขั้นตอนของกระบวนการวิจัย แต่ละหัวข้อมีเนื้อหาครบถ้วนสมบูรณ์ (Format VS. Style)
- ความกะทัดรัดชัดเจน (Concise) สั้น เข้าใจได้รวดเร็วประหยัดเวลา
- ความสม่ำเสมอ (Consistency) หรือความคงเส้นคงวา นักวิจัยต้องใช้คำเดียวกันในการใช้คำหรือข้อความเดียวกันทั้งฉบับ
- ความสัมพันธ์เชื่อมโยงสอดคล้อง (Correspondence) ซึ่งแสดงว่าทุกส่วนได้รับการจัดระเบียบมาเป็นอย่างดี ทุกหัวข้อมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันโดยตลอด
3.ประเภท หรือรูปแบบของการวิจัย
- การวิจัยเชิงสำรวจ (Surveying research)
- การวิจัยเชิงทดลอง (Experimental research)
- การวิจัยพื้นฐาน (Basic research)
- การวิจัยเชิงปฎิบัติการ (Operational research)
- การวิจัยเพื่อการพัฒนา (Developmental research)
- การวิจัยเชิงบูรณาการ (Integrated research)
- การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research)
- การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research)
- การวิจัยสถาบัน (Institutional research)
- การวิจัยในชั้นเรียน (Classroom research)
โครงการแบบ Demand pull และ Supply push
- แบบ Demand pull มาจากความต้องการหรือความจำเป็น ของผู้ใช้ (User) หรือผู้ให้ทุน(Granting agency)
- แบบ Supply push คือ ผู้นำเสนอสร้างความเชื่อให้ผู้ใช้หรือผู้ให้ทุนคิดว่าเรื่องที่นำเสนอเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นจึงจะไม่ทำไม่ได้
แหล่งที่มาของโจทย์วิจัย
- นโยบายการวิจัยของชาติ
- แหล่งทุน
- ประสบการณ์ของนักวิจัยเอง
- การค้นปัญหาโจทย์ร่วมกันกับพื้นที่
- ปัญหาในหน่วยงาน
- การทบทวนทฤษฎี/งานวิจัย
การเขียนแบบเสนอโครงการวิจัย
1. หัวข้อวิจัย
ระบุชื่อโครงการทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ กรณีเป็นโครงการวิจัยภายใต้แผนงานวิจัย ให้ระบุชื่อแผนงานวิจัยทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
วิธีเขียน
- ชื่อเรื่องประกอบด้วย ตัวแปร + ประชากร + พื้นที่ + เวลา
- เป็นสิ่งที่บอกถึง “ปัญหาวิจัย” (research problem)
- Research topic บ่งบอกให้ทราบว่า
- จะทำวิจัยเรื่องอะไร
- เป็นการวิจัยแบบใด
การเขียน
- สื่อความหมายได้เข้าใจว่า จะศึกษาสิ่งใดหรือบ่งบอกถึงปัญหาวิจัย
- ชัดเจน กะทัดรัด
- กำหนดเป็น
- ประโยคสมบูรณ์ (จะทำอะไร-แง่มุมใด-กับใคร-ที่ไหน) หรือ
- ข้อความ วลี (ศึกษาอะไร หรือพัฒนาสิ่งใด)
- ไม่ควรระบุไว้กว้างขวางใหญ่โต จนทำให้เข้าใจผิด
- ไม่ควรระบุแคบ เจาะจงเกินไป จนทำให้เข้าใจผิด
2. ลักษณะโครงการวิจัย
ระบุโครงการวิจัยเป็นโครงการวิจัยใหม่ หรือเป็นโครงการวิจัยต่อเนื่อง (ปีที่ 2 เป็นต้นไป) กรณีเป็นโครงการวิจัยต่อเนื่องต้องระบุจำนวนระยะเวลาที่ทำการวิจัยทั้งหมด และปีงบประมาณที่เสนอขอว่าเป็นปีที่เท่าใด พร้อมทั้งระบุรหัสโครงการวิจัยด้วย
3. คำสำคัญ (Keywords) ของโครงการวิจัย
ระบุคำสำคัญ (Keywords) ที่มีความสำคัญต่อชื่อเรื่องหรือเนื้อหาของเรื่องที่ทำการวิจัย ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศให้ครบถ้วน ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการนำไปใช้ในการเลือกหรือค้นหาเอกสารที่มีชื่อเรื่องประเภทเดียวกันกับเรื่องที่ทำการวิจัยได้
4. ความสำคัญและที่มาของปัญหาที่ทำวิจัย
แสดงให้เห็นถึงความสำคัญที่จำเป็นต้องทำการวิจัยเรื่องนี้ หากมีสถิติตัวเลขอ้างอิงได้จะชัดเจนยิ่งขึ้นและการเลือกพื้นที่ใดทำการวิจัย ควรกล่าวถึงความสำคัญของพื้นที่นั้นให้ชัดเจนด้วย
วิธีเขียน
- เรื่องที่ศึกษา เป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร (เสนอทฤษฎี หลักการ แนวคิดที่เกี่ยวข้อง)
- ความสำคัญของปัญหา (แสดงข้อมูลทางสถิติ, ข้อมูลเชิงคุณภาพให้เห็นความสำคัญ)
- สถานการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน (ดี, เลว, เหมาะสม, ไม่เหมาะสม, เสียหาย ฯลฯ)
- สภาวะที่เป็นปัญหา (อะไรที่ทำให้เกิดสภาพการณ์นั้น)
- ประเด็นที่จะวิจัย (แนวทางที่จะแก้ไข)
- ความจำเป็นที่ต้องรีบแก้ไข
5. วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย
ระบุวัตถุประสงค์ของโครงการวิจัยอย่างชัดเจนและเรียงตามลำดับความสำคัญเป็นข้อๆ โดยเชื่อมโยงกับความสำคัญและที่มาของปัญหาที่ทำการวิจัย ไม่ควรเขียนปะปนกับประโยชน์ที่จะได้รับจากการวิจัย และไม่ควรเขียน เหมือนขั้นตอนการทำวิจัย
วิธีเขียน
เป็นส่วนที่บอกเป้าหมาย หรือความต้องการของงานวิจัย (ผู้วิจัย) ว่า “อยากทราบอะไร” เพื่อใช้เป็นทิศทางและแนวทางการวิจัย
- เขียนให้ชัดเจน อ่านแล้วเข้าใจได้ว่า “ต้องการทราบอะไร”
- อยู่ในขอบเขตของปัญหาวิจัย
- ครอบคลุมสิ่งสำคัญที่ควรแก่การศึกษา
- ทำวิจัยได้จริง หรือ หาข้อมูลได้
- จัดเรียงตามลำกับความสำคัญ หรือตามขั้นตอนดำเนินการ
- อย่าเขียนในรูปของวิธีการดำเนินการ
- อย่าเขียนวัตถุประสงค์มากเกินไป
- วัตถุประสงค์ต้องเริ่มคำว่า “เพื่อ” เสมอ
ควรใช้คำต่อไปนี้
- เพื่อศึกษา
- เพื่อวิเคราะห์หรือสังเคราะห์
- เพื่อเปรียบเทียบ
- เพื่อพัฒนา
- เพื่อออกแบบ
- เพื่อหา
- เพื่อสำรวจ
- เพื่ออธิบาย
- เพื่อหาความสัมพันธ์
- เพื่อทำนาย
- เพื่อประเมิน
- เพื่อตรวจสอบ
- เพื่อสร้าง
ไม่ควรใช้คำต่อไปนี้
- เพื่อทราบ
- เพื่อนำ
- เพื่อใช้
- เพื่อเสนอแนะ
- เพื่อปรับปรุง
6. ขอบเขตของโครงการวิจัย
ระบุขอบเขตของการวิจัยในเชิงปริมาณ/เชิงคุณภาพ ที่เชื่อมโยงกับปัญหาที่ทำการวิจัยแต่ไม่สามารถกำหนดโดยตรงในชื่อโครงการวิจัย และวัตถุประสงค์ของโครงการวิจัยได้
วิธีเขียน
- ขอบเขตของสถานที่ทำการวิจัย (place) (งานวิจัยนี้มีสถานที่ทำวิจัย สถานที่ทดลองที่ไหนบ้าง)
- ขอบเขตของประชากรที่ศึกษา (people) (ประชากรที่ศึกษาเป็นอะไร คน สัตว์ พืช)
- ขอบเขตของเนื้อหาสาระที่ศึกษา (variable) (เนื้อหาสาระของเรื่องเกี่ยวกับอะไร)
- ขอบเขตของเวลา (Time) (ระยะเวลาที่ใช้ในการทำวิจัย กี่ปี กี่เดือน)
7. ทฤษฎี สมมติฐาน (ถ้ามี) และกรอบแนวความคิดของการวิจัย
แสดงทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง สมมติฐาน (ถ้ามี) และกรอบแนวความคิด โดยแสวงหาเหตุผลที่น่าจะเป็นไปได้จากทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ทำการวิจัยแล้วนำมาสังเคราะห์เป็นสมมติฐาน (ถ้ามี) และกรอบแนวความคิดของโครงการวิจัย
กรอบแนวคิดการวิจัย (กรณีการวิจัยทางวิทยาศาสตร์)
- เสนอในรูปแบบ Model ของการวิจัย นั้นๆ
- เสนอในรูปแบบกระบวนการ (process)
- เสนอในรูปแบบการบรรยายเชิงพรรณนา
- หรือเสนอในรูปแบบผสม
กรอบแนวคิดการวิจัย (กรณีการวิจัยทางสังคมศาสตร์)
เป็นการนำเอาตัวแปรที่จะศึกษามาเชื่อมโยงกับแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องในรูปของคำบรรยาย หรือ แบบจำลองแผนงาน หรือรูปแบบที่ผสมกัน
8. การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ (Information) ที่เกี่ยวข้อง
กำหนดปัญหาให้ชัดเจนทั้งในด้านการเกิดความรุนแรง การกระจายตัวของปัญหาหรือด้านอื่นๆ ให้เข้าถึงข้อเท็จจริงของปัญหาอย่างแท้จริง ด้วยการทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้อง (reviewed literature) ตรวจสอบสถิติ สอบถามความคิดเห็นจากบุคคลที่เกี่ยวข้องและแสวงหาเหตุผลที่น่าจะเป็นไปได้จากทฤษฎี/สมมติฐานในสาขาวิชาการที่เกี่ยวข้อง
วิธีเขียน
- วรรณกรรมที่นำมาทบทวนหรืออ้างถึงนั้นต้องสัมพันธ์กับงานวิจัยที่กำลังดำเนินอยู่ ไม่ควรเขียนรวมถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่ผู้วิจัยได้อ่านมา
- แต่ละงานวิจัยที่สำคัญที่นำมาทบทวนอาจอภิปรายทีละเรื่องในแต่ละย่อหน้า บอกวัตถุประสงค์ของการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง ผลการศึกษาที่เกี่ยวข้อง ถ้างานวิจัยนั้นสำคัญน้อยอาจอ้างแต่ตัดรายละเอียดออกบ้าง
- ถ้ามีงานวิจัยที่ผ่านมาหลายเรื่องที่ศึกษาปัญหาเดียวกันในแง่มุมที่คล้ายคลึงกัน อาจนำมาทบทวนรวมกันในย่อหน้าเดียวกัน เช่น นาย ก, นาย ข, นาย ค และนาย ง ได้ศึกษาถึงเรื่อง……และสรุปผลออกมาเป็นกลุ่มมากกว่าแยกจากกัน
- ควรเขียนทบทวนวรรณกรรมที่ได้มีการศึกษามาอย่างดี เลือกเฉพาะที่เป็นจุดเด่นที่ทบทวนวรรณกรรมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องี่ดำเนินการอยู่
- เรียบเรียงสาระสำคัญเป็นขั้นเป็นตอน ตั้งแต่ผลงานวิจัยที่มาก่อนจนถึงปัจจุบัน ยังขาดอะไรอยู่ มีจุดอ่อนอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันอย่างไร
- ควรเขียนในลักษณะที่จะนำมาใช้ในการอภิปรายผลการวิจัย
9. เอกสารอ้างอิงของโครงการวิจัย
ระบุเอกสารที่ใช้อ้างอิง (Reference) ของโครงการวิจัยตามระบบสากล
- เสนอชื่อเอกสารที่ใช้ค้นคว้าและอ้างอิง
- เสนออย่างเป็นระบบ
- ชื่อคนแต่ง ชื่อหนังสือ จังหวัด โรงพิมพ์ ปีที่พิมพ์
- ชื่อผู้เขียน ชื่อบทความ ชื่อวารสาร ฉบับที่ พ.ศ.หน้าบทความ ฯลฯ
- เสนอครบถ้วนตามอ้างอิง
- เสนอเรียงลำดับอักษร
- ถ้ามีภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ให้แยกเป็น 2 ส่วน ภาษาไทยมาก่อน
10. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ และหน่วยงานที่จะนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์
1. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ (อาจมีหัวข้อเดียว หรือ หลายข้อก็ได้)
– แก้ไขปัญหาในการดำเนินงานของหน่วยงานที่ทำการวิจัย (ระบุรายละเอียดว่าประโยชน์มีอย่างไร)
– เป็นองค์ความรู้ในการวิจัยต่อไป (ระบุรายละเอียดว่าประโยชน์มีอย่างไร)
– ให้บริการความรู้แก่ประชาชน (ระบุรายละเอียดว่าประโยชน์มีอย่างไร)
– ให้บริการความรู้แก่ภาคธุรกิจ (ระบุรายละเอียดว่าประโยชน์มีอย่างไร)
– นำไปสู่การผลิตในเชิงพาณิชย์ (ระบุรายละเอียดว่าประโยชน์มีอย่างไร)
– เพื่อประสิทธิภาพในการผลิต (ระบุรายละเอียดว่าประโยชน์มีอย่างไร)
– เป็นประโยชน์ต่อประชาชน (ระบุรายละเอียดว่าประโยชน์มีอย่างไร)
– อื่นๆ (ระบุ)
2. หน่วยงานที่จะนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ (ระบุ)
11. แผนการวิจัยการถ่ายทอดเทคโนโลยีหรือผลการวิจัยสู่กลุ่มเป้าหมาย
วิธีเขียน
แสดงแผนการถ่ายทอดเทคโนโลยีหรือผลการวิจัยสู่กลุ่มเป้าหมาย หรือส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาขึ้นต่อไป หรือการบริหารงานในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยระบุกลุ่มเป้าหมาย วิธีการถ่ายทอด ระยะเวลา สถานที่ ฯลฯ ให้ชัดเจน และควรเสนอของบประมาณในส่วนนี้ด้วย
- กรณีเป็นงานวิจัยพื้นฐาน (เป้าหมายผู้ใช้ผลงานวิจัย คือ นักวิชาการ นักศึกษา)
- สอนหรือบรรยายเพื่อขยายขอบเขตของความรู้ให้แก่นักวิชาการ นิสิต นักศึกษา ประชาชน ทั่วไป
- เผยแพร่ผลงานในรูปรายงานวิจัย เอกสารทางวิชาการ วารสาร สิ่งพิมพ์ ตำรา สื่ออิเล็กทรอนิกส์
- เสนอผลงานในที่ประชุมทางวิชาการ
- จัดฝึกอบรมและสัมมนาเพื่อให้ความรู้
- กรณีเป็นงานวิจัยประยุกต์หรือขั้นพัฒนา (เป้าหมายคือ ผู้นำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์)
- กรณีเป็นงานวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ถ่ายทอดเทคโนโลยีกลุ่มเป้าหมาย เช่นเดียวกับกรณีที่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน ข้อ 1-4
- กรณีเป็นงานวิจัยที่เป็นประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ให้ระบุกลุ่มภาคเอกชนทีจะนำไปใช้ประโยชน์ได้
12. วิธีดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล
อธิบายขั้นตอนวิธีการทำการวิจัย อาทิ การเก็บข้อมูลการกำหนดพื้นที่ประชากรตัวอย่างการสุ่มตัวอย่าง ขั้นตอนและวิธีการในการวิเคราะห์ข้อมูล ฯลฯ รวมทั้งระบุสถานที่ที่จะใช้เป็นที่ทำการวิจัย/เก็บข้อมูลให้ครบถ้วนและชัดเจน เพื่อประโยชน์ในการเสนอของบประมาณ
วิธีเขียน
เป็นส่วนสำคัญที่เสนอแนวคิด วิธีการ หรือยุทธวิธี (strategy) ในการดำเนินการเพื่อตอบปัญหาวิจัยอันจะชี้ถึงคุณภาพการวิจัย หรือความเที่ยงตรงของการวิจัย
13. ระยะเวลาทำการวิจัย และแผนการดำเนินงานตลอดโครงการ
ระบุระยะเวลาที่ทำการวิจัย ตั้งแต่เริ่มต้นถึงสิ้นสุดโครงการวิจัย โดยระบุเดือนปีที่เริ่มต้น ถึงเดือนปีที่สิ้นสุดการวิจัย โดยระบุด้วยว่าปีที่เสนอขอเป็นปีที่เท่าใดของโครงการวิจัยนี้ รวมทั้งระบุขั้นตอนและระยะเวลาของแผนการดำเนินงาน (Gantt chart) โดยรายละเอียดภายในปีงบประมาณ (1 ตุลาคม ของปีนั้น- 30 กันยายน ของปีถัดไป) ในกรณีที่เป็นโครงการวิจัยที่เสนอของบประมาณเพื่อทำการวิจัยมากกว่า 1 ปี ให้แจ้งแผนการดำเนินงานในปีต่อๆไป โดยสังเขปด้วย
แผนการดำเนินงาน
ควรเสนอภารกิจทั้งหมดที่ต้องปฎิบัติตลอดโครงการ พร้อมทั้งช่วงเวลาที่จะปฎิบัติในแต่ละภารกิจเหล่านั้น ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงความเป็นไปได้ และความเหมาะสมของจังหวะเวลา โดยกำหนดเป้นผังดำเนินการที่ชัดเจนภายใต้ระยะเวลา โดยกำหนดเป็นผังดำเนินการที่ชัดเจนภายใต้ระยะเวลาที่กำหนดไว้
ระยะเวลาทำการวิจัย
ทำการวิจัย 1 ปี ตั้งแต่เดือน……….พ.ศ………….ถึงเดือน……………พ.ศ………………..
แผนการดำเนินงานตลอดโครงการวิจัย (เขียน Gantt chart) ดังตัวอย่าง
กิจกรรม | เดือน | |||||||||||
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | |
1.วางแผนการทำงาน | ||||||||||||
2.ศึกษาข้อมูล | ||||||||||||
3.วางแผนรวบรวมข้อมูล | ||||||||||||
4.เก็บรวบรวมข้อมูล | ||||||||||||
5.วิเคราะห์ข้อมูล | ||||||||||||
6.เขียนรายงานวิจัย |
14. ปัจจัยที่เอื้อต่อการวิจัย (อุปกรณ์การวิจัย โครงสร้างพื้นฐาน ฯลฯ) ระบุเฉพาะปัจจัยที่ต้องการเพิ่มเติม
ระบุรายละเอียดคุณลักษณะและความจำเป็นของอุปกรณ์ที่เป็นปัจจัยที่เอื้อต่อการวิจัย (อุปกรณ์การวิจัย โครงสร้างพื้นฐาน ฯลฯ) ที่ต้องการเพิ่มเติม รวมทั้งอุปกรณ์ที่ต้องขอเช่า หรือขอยืมจากหน่วยงานอื่นเพื่อการวิจัยนี้
วิธีเขียน
ปัจจัยที่เอื้อต่อการวิจัย (อุปกรณ์การวิจัย โครงสร้างพื้นฐาน)
- ที่มีอยู่แล้ว (ระบุ)
- ที่ต้องการเพิ่มเติม (ระบุ)
15. งบประมาณของโครงการวิจัย
- 1. รายละเอียดงบประมาณการวิจัย จำแนกตามงบประเภทต่างๆ (ปีงบประมาณที่เสนอขอ (ผนวก 5))
- 2. รายละเอียดงบประมาณการวิจัย จำแนกตามงบประเภทต่างๆ ที่เสนอขอในแต่ละปี (กรณีเป็นโครงการวิจัยต่อเนื่อง (ผนวก 9))
- 3. งบประมาณการวิจัยที่ได้รับจัดสรรในแต่ละปีที่ผ่านมา (กรณี เป็นโครงการวิจัยต่อเนื่องที่ได้รับอนุมัติให้ทำการวิจัยแล้ว)
วิธีเขียน
- แสดงรายละเอียดงบประมาณการวิจัยเฉพาะปีที่เสนอขอโดยจำแนกประเภทต่างๆ ให้ชัดเจน
- กรณีที่เป็นโครงการวิจัยต่อเนื่อง โปรดระบุรายละเอียดงบประมาณการวิจัยที่จะเสนอขอในปีต่อๆ ไป แต่ละปีตลอดการวิจัย โดยจำแนกตามงบประเภทต่างๆ ให้ชัดเจน
- กรณีเป็นโครงการวิจัยต่อเนื่องที่ได้รับอนุมัติให้ทำการวิจัยแล้วให้ระบุงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรในแต่ละปี ทุกปีที่ผ่านมา
งบประมาณค่าใช้จ่ายตลอดโครงการ
- งบประมาณเหมาะสม ไม่มากหรือน้อยเกินไป
- มีการแจกแจงรายละเอียดงบประมาณปีที่ขอ
- มีความเป็นไปได้ในการศึกษาวิจัย
- คำนวณงบประมาณครอบคลุมทุกรายการที่วางแผนและกำหนดกิจกรรม
- ประเมินค่าใช้จ่ายตามความเป็นจริง
16. ผลสำเร็จของการวิจัยที่คาดว่าจะได้รับในแต่ละปี
วัตถุประสงค์ของการวิจัย | ผลสำเร็จ (Output) | P | I | G | |
ปีที่ 1 | ปืที่ 2 | ||||
ข้อ 1 เพื่อ……………………………………… ข้อ 2 เพื่อ……………………………………… ข้อ 3 เพื่อ……………………………………… |
1.1 จะได้ ….………………… 1.2 จะได้ …………………… 1.3 จะได้ ……………………… |
1.1 จะได้ ….………………… 1.2 จะได้ …………………… 1.3 จะได้ …………………… |
P |
I I I
|
G
|
P=ผลสำเร็จเบื้องต้น (preliminary result), I = ผลสำเร็จกึ่งกลาง (intermediate result), G= ผลสำเร็จตามเป้าประสงค์ (Goal result)
17. กรณีโครงการวิจัยต่อเนื่องปีที่ 2 ขึ้นไป
- หัวหน้าโครงการวิจัยต้องรับรองว่าโครงการวิจัยได้รับการจัดสรรงบประมาณในปีงบประมาณที่ผ่านมาจริง โดยระบุเป็นข้อความ พร้อมลายมือชื่อกำกับอย่างชัดเจน
- ถ้าโครงการวิจัยนี้อยู่ในระหว่างการเสนอของบประมาณการวิจัยจากแหล่งเงินทุนอื่น ให้ระบุชื่อแหล่งทุนและงบประมาณที่เสนอขอด้วย หากเป็นการวิจัยต่อยอดจากการวิจัยอื่นให้ระบุชื่อโครงการวิจัยดังกล่าว
- ต้องรายงานความก้าวหน้าของโครงการวิจัยตาม แบบ ต-1ด
18. คำชี้แจงอื่นๆ
ควรมีการแสดงเอกสาร หลักฐาน คำรับรอง คำยินยอม อาทิ โครงการพระราชดำริ จริยธรรม การวิจัยในมนุษย์ จรรยาบรรณการใช้สัตว์ ฯลฯ หรือรายละเอียดอื่นที่จะเป็นประโยชน์ และชี้ให้เห็นคุณค่าของโครงการวิจัยมากยิ่งขึ้น