ข่าวประกาศ
แนะนำ คณะบัญชีและวิทยาการจัดการ
คณะบัญชีและวิทยาการจัดการ (Faculty Accounting and Management Science) เดิมชื่อ คณะบริหารธุรกิจ (Faculty of Business Administration) เป็นคณะแรกที่เปิดทำการสอนพร้อมกับการขอเปิดดำเนินการวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก ในปีการศึกษา 2560 หลักสูตรที่คณะบัญชีและวิทยาการจัดการ เปิดสอนจะเป็นหลักสูตรทางบริหารธุรกิจ เน้นการสร้างผู้ประกอบการณ์หน้าใหม่เพื่อขับเคลื่อนประเทศ คณะบัญชีและวิทยาการจัดการ อาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก ถนนสรรพาวุธ แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260
วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก ซึ่งมี ดร.สมศักดิ์ รุ่งเรือง เป็นผู้รับใบอนุญาต อธิการบดีนายชนะ รุ่งแสง เป็นนายกสภาวิทยาลัย ถือกำเนิดขึ้นมาด้วยปณิธานแน่วแน่ในการสร้างคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่มีศักยภาพและสมรรถนะระดับสากล ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2542 และสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาได้อนุญาตให้เปิดดำเนินการหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต รวมทั้งให้ การรับรองวิทยฐานะสถาบันอุดมศึกษาเอกชน เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2543 ซึ่งมีผลทำให้คณะฯ สามารถเปิดดำเนินการเรียนการสอนในภาคเรียนแรกของปีการศึกษา 2543 และได้เริ่มเปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาตรี 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (หลักสูตร 4 ปี) และหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (หลักสูตรต่อเนื่อง) โดยเปิดสอน 3 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาการบัญชี , สาขาวิชาการตลาด และ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ในปีการศึกษา 2549 ได้เปิดเพิ่มอีก 1 สาขาวิชาคือ สาขาวิชาการการจัดการโลจิสติกส์ และในปีการศึกษา 2554 ได้เปิดเพิ่มอีก 1 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาการการจัดการ โดยสาขาวิชาการจัดการได้เริ่มเปิดสอนในปีการศึกษา 2555 และในปีการศึกษา 2555 คณะยังได้ดำเนินการปรับปรุงหลักสูตร ทั้ง 4 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรของสาขาวิชาการตลาด , สาขาวิชาระบบสารสนเทศทางธุรกิจ , สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ และปรับปรุงหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (บัญชี) เป็นหลักสูตรบัญชีบัณฑิต (บช.บ.) เพื่อให้หลักสูตรมีความทันสมัยและเพิ่มการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และ “ศตวรรษแห่งเอเชีย” ต่อมาในปีการศึกษา 2557 ได้เปิดเพิ่มอีก 1 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวและการโรงแรม รวมมีหลักสูตรที่เปิดสอนทั้งสิ้น 6 หลักสูตร ในปีการศึกษา 2557 หลักสูตรระบบสารสนเทศทางธุรกิจ ได้ย้ายไปสังกัดภายใต้คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และในปีการศึกษา 2559 หลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์ ได้แยกไปเป็นคณะโลจิสติกส์และเทคโนโลยีการบิน ปัจจุบันคณะบัญชีและวิทยาการจัดการจึงมีหลักสูตรที่เปิดดำเนินการสอนอยู่ 4 หลักสูตร
ในปีการศึกษา 2560 คณะบัญชีและวิทยาการจัดการ เปิดดำเนินการสอน 4 หลักสูตร ดังนี้
- สาขาวิชาการบัญชี (Accounting)
- สาขาวิชาการตลาด (Marketing)
- สาขาวิชาการจัดการ (Management)
- สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวและการโรงแรม (Tourism and Hotel Management)
หลักสูตรและการรับรองหลักสูตร
การรับรองหลักสูตรและมาตรฐานการศึกษา วิทยาลัยได้รับรองจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาแล้ว ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้
- หลักสูตรบัญชีบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี
ได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษา เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2546
หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2551 เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2551
หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555 เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2555
หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560 เมื่อวันที่ ……………………………………..
- หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิตสาขาวิชาการตลาด
ได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษา เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2546
หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2551 เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2551
หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555 เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2556
หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560 เมื่อวันที่ ……………………………………..
- หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ
ได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษา เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2554
หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560 เมื่อวันที่ ……………………………………..
- หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวและการโรงแรม
ได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษา เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2557
สาขาวิชาการบัญชี
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็มภาษาไทย : บัญชีบัณฑิต
ชื่อย่อภาษาไทย : บช.บ.
โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 129 หน่วยกิต
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
หมวดวิชาเฉพาะ 93 หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาแกน 39 หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาเอกบังคับ 33 หน่วยกิต
- กลุ่มอัตลักษณ์ 12 หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาเอกเลือก 9 หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
คำอธิบาย
สาขาการบัญชีเน้นให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถในด้านวิชาการบัญชีทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติโดยเน้นให้มีความชำนาญใน ด้านประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและภาษาอังกฤษ เพื่อให้สามารถประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในระดับประเทศและระดับสากล
สาขาวิชาการจัดการ
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็มภาษาไทย : บริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการ)
ชื่อย่อภาษาไทย : บธ.บ. (การจัดการ)
โครงสร้างหลักสูตรสาขาวิชาการจัดการ
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 126 หน่วยกิต
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
หมวดวิชาเฉพาะ 90 หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาแกน 30 หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาเอก 60 หน่วยกิต
- วิชาเอกบังคับ 45 หน่วยกิต
- วิชาเอกเลือก 15 หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
คำอธิบาย
สาขาวิชาการจัดการมุ่งเน้นให้นักศึกษามีความรู้ ความสามารถในด้านการจัดการทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติโดยเน้นให้มีความชำนาญในด้านประยุกต์ ใช้เทคโนโลยีและภาษาอังกฤษเพื่อให้สามารถประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งในระดับประเทศและระดับสากล
สาขาวิชาการตลาดดิจิทัล
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็มภาษาไทย : บริหารธุรกิจบัณฑิต (การตลาดดิจิทัล)
ชื่อย่อภาษาไทย : บธ.บ. (การตลาดดิจิทัล)
โครงสร้างของหลักสูตรสาขาวิชาการตลาดดิจิทัล
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 123 หน่วยกิต
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
หมวดวิชาเฉพาะ 87 หน่วยกิต
- วิชาพื้นฐานวิชาชีพ 30 หน่วยกิต
- วิชาชีพ 57 หน่วยกิต
- วิชาชีพ-บังคับ 42 หน่วยกิต
- วิชาชีพ-เลือก 15 หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
คำอธิบาย
สาขาการตลาดเน้นให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถในด้านวิชาการตลาด ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติโดยเน้นให้มีความชำนาญ ในด้านประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและภาษาอังกฤษเพื่อให้สามารถประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในระดับประเทศและระดับสากล
- ความรู้ความเข้าใจต่อหลักเกณฑ์การรับรองคุณภาพของสำนักงานบัญชีที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติตามองค์ประกอบของระบบคุณภาพสำนักงานบัญชีในจังหวัดสมุทรปราการ
- การวิเคราะห์ต้นทุนด้านโลจิสติกส์สำหรับผู้ประกอบการกิจการขนส่งเอกชน กรณีศึกษา บริษัท ABC จำกัด
- ความสัมพันธ์ของการควบคุมภายในที่มีต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจที่พักแรมในจังหวัดระยอง
- ความสัมพันธ์ของคุณภาพสารสนเทศทางบัญชีกับประสิทธิภาพในการควบคุมต้นทุนอาหารและเครื่องดื่มของโรงแรมในกรุงเทพมหานคร
- การศึกษาความหลากหลายทางบัญชีของแต่ละประเทศในกลุ่มอาเซียนตามทัศนะของผู้ทำบัญชีและอาจารย์มหาวิทยาลัยในจังหวัดสมุทรปราการ
- สมรรถนะของพนักงานบัญชีที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการทำงาน กรณีศึกษาสถานประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมในอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ
- ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ฉลากลดคาร์บอนของผู้บริโภคในเขตบางนา กรุงเทพมหานคร
- โมเดลสมการโครงสร้างการรับรู้คุณภาพ ความรับผิดชอบขององค์กรต่อสังคม ต้นทุนการเปลี่ยนแปลงและความพึงพอใจลูกค้าที่มีอิทธิพลต่อความภักดีลูกค้าด้านตราสินค้าเครือข่ายโทรศัพท์มือถือของผู้บริโภคจังหวัดสมุทรปราการ
- ปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคกลุ่มเจเนอเรชันเบบี้บูม ในจังหวัดสมุทรปราการ
- ความคาดหวังของนักท่องเที่ยวชาวจีนต่อคุณภาพของโรงแรมระดับ 3 ดาวในเขตกรุงเทพมหานคร
- ปัจจัยที่มีผลต่อการรับรู้แบรนด์ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในบริบทสื่อสังคมออนไลน์ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพในจังหวัดสมุทรปราการ
- กลยุทธ์การตลาดที่มีผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวจีนกลุ่มผู้สูงวัยที่ใช้บริการท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพในประเทศไทย
- การเปรียบเทียบปัจจัยการเลือกรับบริการโรงพยาบาลของรัฐและโรงพยาบาลเอกชนของผู้ป่วย ในเขตพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ
- Entrepreneurial Intention of Students in Higher Education Institutions Within the Network of the Upper Central Region of Thailand
- การยอมรับของผู้ใช้บริการโมบายแบงก์กิ้งธนาคารพาณิชย์ไทยในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
- คุณภาพชีวิตในการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานที่ทำงานในนิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดสมุทรปราการ: กรณีศึกษาสถานประกอบการที่ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
- ปัจจัยที่มีผลต่อการรับรู้แบรนด์ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในบริบทสื่อสังคมออนไลน์ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพในจังหวัดสมุทรปราการ
- ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้บริการสนามกอล์ฟในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลของนักท่องเที่ยวชาวไทยกลุ่มกอล์ฟ
- การเปิดรับตราสินค้าการสื่อสารแบบปากต่อปากทางอิเล็กทรอนิกส์ และความพึงพอใจของลูกค้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์ที่มีผลต่อความเชื่อถือสินค้าไพรเวทแบรนด์
- ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของบรรยากาศองค์การ พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การและความผูกพันของพนักงานกับประสิทธิผลองค์การของธุรกิจบริการ
- การศึกษา ความเชื่อ แรงจูงใจและความคิดสร้างสรรค์ที่มีผลต่อความตั้งใจในการเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในสังกัดเครือข่ายภาคกลางตอนบนในประเทศไทย
- การวิเคราะห์การจัดกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวไทย ตามปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความภักดีในการท่องเที่ยวภาคตะวันออก เฉียงเหนือ ประเทศไทย
- ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน กรณีศึกษาพนักงานศูนย์บริการลูกค้าบางนา ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
- การวิเคราะห์โมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานระดับคณะวิชาของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทย
- รูปแบบของปัจจัยควบคุมสุขภาวะทางการเงินของผู้มีรายได้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
- Factors Affecting Consumer’s Loyalty in Food Delivery Application Service in Thailand
- Entrepreneurial Intention of Students in Higher Education Institutions Within the Network of the Upper Central Region of Thailand
- การยอมรับของผู้ใช้บริการโมบายแบงก์กิ้งธนาคารพาณิชย์ไทยในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
- ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก วิทยาเขตบางนา
- ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการธุรกรรมทางการเงินผ่านสื่อออนไลน์ของผู้ใช้บริการธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สาขาเทสโก้โลตัสบางปู จังหวัดสมุทรปราการ
- ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการบริหารจัดการองค์กรสู่ความเป็นอุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 3 ของโรงงานอุตสาหกรรมในจังหวัดชลบุรี
- ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้บริการสนามกอล์ฟในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลของนักท่องเที่ยวชาวไทยกลุ่มกอล์ฟ
- คุณภาพบริการโลจิสติกส์ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการศูนย์บริการรถยนต์โตโยต้าจังหวัดสมุทรปราการ
- ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจส่งบุตรหลานเข้าเรียนโรงเรียนอนุบาลเอกชนในจังหวัด สุราษฎร์ธานี
- การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ ผศ.ดร.อำพล นววงศ์เสถียร
- ตำราการจัดการเชิงกลยุทธ์ ผศ.ดร.อำพล นววงศ์เสถียร
- กลยุทธ์การตลาดในศตวรรษที่ 21
- การตลาดทางตรงกับฐานข้อมูลลูกค้า
- การตลาดภายใน ทำไมต้องให้ความสำคัญ
- การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ทางเลือก(ทางรอด) ของการท่องเที่ยวไทย
- การรับรู้การเลือกใช้บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร
- แนวโน้ม ค่านิยม พฤติกรรมผู้บริโภคในสังคมไทยศตวรรษที่ 21
- ปัจจัยความแห่งความสำเร็จของความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนสำหรับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
- มิติใหม่แห่งการท่องเที่ยว ผู้หญิงคนเดียวก็เที่ยวได้
- รูปแบบนวัตกรรมที่อยู่อาศัยเพื่อผู้สูงอายุ เทรนด์ใหม่ที่น่าจับตามอง