การบัญชี มีมานานแค่ไหนแล้วนะ!

การบัญชี…เกิดขึ้นมานานมากกกกกก โดยในช่วงแรกๆก็เป็นแค่การ เก็บข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณผลผลิตทางการเกษตร กับมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรเหล่านั้น

มาย้อนเวลากลับไปสู่จุดเริ่มต้นของการบัญชีกันเถอะ!!

ในปี ค.ศ.1494 ลูกา ปาซิโอลิ (Luca Pacioli) ชาวอิตาเลียน ได้เขียนหนังสือเชิงคณิตศาสตร์เล่มหนึ่ง ชื่อ “Summa de arithmetca geometrica proportioni et proportionalita” เป็นตำราว่าด้วยการคำนวณเกี่ยวกับเลขคณิต พีชคณิต การแลกเปลี่ยนเงินตรา รวมทั้งการบัญชี ซึ่งเขาได้รวบรวมกฎเกณฑ์ต่างๆของหลักการบัญชีคู่ไว้อย่างสมบูรณ์ โดยกำหนดศัพท์ที่มาของคำว่า “Dedito” หมายถึง “เป็นหนึ่ง” และ Credito” หมายถึง “เชื่อถือ”อันเป็นพื้นฐานที่มาของคำว่า “Dedit” และ “Credit” ตามหลักการบัญชีคู่ซึ่งเป็นที่ยอมรับถือปฏิบัติมาจนถึงทุกวันนี้

ดังนั้น ลูกา ปาซิโอลิ ถือว่า เป็น “บิดาแห่งการบัญชี”

และสำหรับประเทศไทย การบัญชี เริ่มมีตั้งแต่สมัยอยุธยาในช่วงปี พ.ศ.2193-2231 ตรงกับสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งในตอนนั้นประเทศไทยได้มีการเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับประเทศฝั่งยุโรป คือ อังกฤษ ฝรั่งเศส และโปรตุเกส เป็นต้น โดยผู้ที่เผยแพร่ความรู้ทางด้านการบัญชีในระยะแรกคือ พระยาไชยยศสมบัติ (เสริม กฤษณามระ) และหลวงดำริ อิศรานุวรรต (ม.ร.ดำริ อิศรางกูร ณ อยุธยา) (เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475) ได้จัดทำหลักสูตรการสอนวิชาการบัญชีเพื่อเผยแพร่ทำให้คนไทยมีความรู้ทางด้านการบัญชีโดยศัพท์ทางบัญชีจะเป็นลักษณะเฉพาะมากขึ้นเช่น สินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ รายได้ รายจ่าย ค่าใช้จ่ายและกำไรขาดทุน เป็นต้น

บัญชีที่ถูกจัดทำขึ้นเป็นบัญชีแรกคือ บัญชีเงินสดและได้ถือปฏิบัติมาจนกระทั่งถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 ได้เริ่มจัดทำบัญชีพระคลังเป็นหมวดหมู่ และวิชาการบัญชีก็ได้เริ่มมีการศึกษากันมากขึ้น โดยมีการตั้งโรงเรียนพาณิชยการ ขึ้น 2 แห่งคือ โรงเรียนพาณิชยการวัดสามพระยา และโรงเรียนพาณิชยการวัดแก้วฟ้า โดยมีการสอนบัญชีคู่เป็นครั้งแรกและมีบัญชีเพียง3เล่ม คือ สมุดบัญชีเงินสด สมุดรายวันและสมุดแยกประเภท และในปีพ.ศ.2481 ได้จัดตั้งคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ขึ้นในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การบัญชีในปัจจุบัน

หากย้อนกลับไปในอดีตตั้งแต่สมัยมีการจัดทำและบันทึกบัญชีด้วยมือ ที่ต้องอาศัยความละเอียดรอบคอบในการค้นหาตัวเลขที่ไม่ตรงหรือการผ่านรายการทางบัญชีด้วยสมุดบัญชีหลาย ๆ เล่ม ทำให้การจัดทำงบการเงินเกิดความผิดพลาด ล่าช้า จนมีการพัฒนาการจัดทำบัญชีด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ช่วยในการบันทึกรายการทางบัญชี ผ่านรายการบัญชีไปยังบัญชีแยกประเภทและออกงบทดลองได้อย่างรวดเร็ว ลดปัญหาในการจัดทำงบการเงินที่ไม่ลงตัว จนมีการพัฒนาโปรแกรมระบบบัญชีให้สามารถออกเอกสารทางการค้า เช่น ใบแจ้งหนี้ ใบส่งของ ใบกำกับภาษี ใบเสร็จรับเงิน ใบสำคัญรับและใบสำคัญจ่าย ให้สามารถเชื่อมโยงรายการค้ามายังรายการทางบัญชีและผูกรายการค้ากับผังบัญชี เพื่อช่วยลดเวลาในการบันทึกบัญชี เพิ่มความถูกต้องครบถ้วน ทำให้การจัดทำบัญชีทำได้อย่างง่ายและรวดเร็ว ลดขั้นตอนการทำงานของนักบัญชี ปรับเปลี่ยนบริบทให้มุ่งเน้นงานการตรวจสอบการบันทึกบัญชีกับเอกสารรายการค้า รวมถึงการคำนวณรายการปรับปรุงต่าง ๆ

ในสมัยถัดมา การดำเนินธุรกิจมีธุรกรรมที่ซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น การตัดสินใจทางธุรกิจต้องการความแม่นยำ รวดเร็วและทันต่อเวลา จึงมีการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ ให้สามารถวางแผนทรัพยากรในองค์กร (Enterprise Resource Planning : ERP) มีการเชื่อมโยงทรัพยากรในองค์กรเข้าด้วยกันแบบรวมศูนย์ ทำให้งานของนักบัญชีถูกทดแทนในส่วนของการคำนวณที่ซับซ้อนและจัดเตรียมรายการปรับปรุงบางส่วน โดยเน้นการควบคุมข้อมูลนำเข้าระบบ (Input) การวิเคราะห์รายการค้า การตรวจสอบความถูกต้อง

และในปัจจุบัน ยุค Digital Disruption การเข้ามาของเทคโนโลยีส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจและสาขาอาชีพ โดยเฉพาะนักบัญชีที่เทคโนโลยีเข้ามาทดแทนกระบวนการทำงานของนักบัญชี ให้ใช้ง่ายและรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาโปรแกรมบัญชีสำเร็จรูปให้มีการใช้งานบนระบบ Cloud ทำให้นักบัญชีสามารถทำงานจากที่ไหนก็ได้ ขอแค่มีระบบอินเตอร์เน็ต หรือบางองค์กรมีการประยุกต์เอาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) มาช่วยให้สามารถแปลงข้อมูลที่ถูกจัดเตรียมในรูปแบบของรายการบันทึกบัญชี โดยอาศัยการเรียนรู้จดจำรูปแบบของรายการค้า ให้สามารถรับส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ช่วยในส่วนงานเอกสารบางอย่าง และยิ่งในปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยี บล็อกเชน (Blockchain) เข้ามาใช้กับงานบัญชี การบันทึกบัญชีสามารถทำได้อย่างอัตโนมัติ ดังนั้นนักบัญชีในยุคดิจิทัลจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องหาทักษะที่แตกต่างจากคนอื่น เป็นนักปฏิบัติมืออาชีพและมีการยกระดับความรู้ความเชี่ยวชาญ เป็นนักวิเคราะห์ เสริมการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

สาขาวิชาการบัญชี คณะบัญชีและวิทยาการจัดการ

ปัจจุบันมีการจัดการเรียนการสอน โดยมุ่งเน้นให้นักศึกษาได้ปฏิบัติงานจริง  เพื่อเตรียมความพร้อมที่จะเป็นนักบัญชี ผู้ทำบัญชี นักปฏิบัติมืออาชีพหลังจากสำเร็จการศึกษา

ในระหว่างที่กำลังศึกษา ทางสาขาวิชาการบัญชี มีการเตรียมความพร้อมเป็นนักปฏิบัติมืออาชีพ เช่น

  1. 1. อบรมและฝึกปฏิบัติให้นักศึกษามีทักษะการใช้งาน SAP Business One โดยจะได้รับใบประกาศนียบัตรจากตัวแทน SAP แห่งประเทศไทย  หรือการให้นักศึกษาจำลองธุรกิจและทำการบันทึกรายการทางบัญชี ผ่านโปรแกรมบัญชีสำเร็จรูป ไม่ว่าจะเป็น Express Smart Biz, RDSMEs หรือโปรแกรมบัญชีสำเร็จรูปออนไลน์ PEAK, SME Move, TR Cloud เป็นต้น
  1. 2. มีการส่งนักศึกษาออกฝึกสหกิจ ฝึกปฏิบัติงานทางบัญชี กับบริษัทเอกชน บริษัทวางระบบบัญชี หรือสำนักงานบัญชี ตามความต้องการของนักศึกษา เพื่อค้นหาตัวตนทางวิชาชีพ
  1. 3. ร่วมกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ สร้างนักบัญชีคุณภาพรุ่นใหม่ (Young & Smart Accountants) ให้กับนักศึกษาปีที่ 4 เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนสำเร็จการศึกษาให้มีทักษะความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในวิชาชีพบัญชี
  1. 4. มีการจัดกิจกรรม Upskilling and Reskilling ทางด้านบัญชีให้กับศิษย์เก่า ตามลักษณะธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป

“ มาเป็นครอบครัวเดียวกันกับเราสิคะ”

.