โครงการส่งเสริมการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย กิจกรรม การประกวดการอ่านทำนองเสนาะระดับประเทศ ชิงโล่รางวัลเกียรติยศองคมนตรี
“สืบสำเนียง เสียงเสนาะ” ครั้งที่ ๔
จัดโดย กลุ่มงานพัฒนานักศึกษาและศิลปวัฒนธรรม วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก
วัตถุประสงค์ของโครงการวัตถุประสงค์ของโครงการ ๑) เพื่อเป็นการส่งเสริมการอนุรักษ์ สืบสาน ปกป้อง คุ้มครองและเผยแพร่มรดกภูมิปัญญาภาษาไทยด้านการอ่านทำนองเสนาะให้คงอยู่ ๒) เพื่อจัดกิจกรรมการประกวดทักษะความสามารถการอ่านทำนองเสนาะและเสริมสร้างเอกลักษณ์ที่ทำให้เกิดความภูมิใจทางภาษาไทยอันเป็นภาษาประจำชาติ ๓) เพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของนักเรียน นิสิต นักศึกษา ในทักษะความสามารถการอ่านทำนองเสนาะให้เกิดคุณค่าความภาคภูมิใจในตนเองและความเป็นไทยกลุ่มเป้าหมาย – ผู้เข้าประกวด แบ่งออกเป็น ๒ ระดับ ๑. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย / ระดับอาชีวศึกษา (ปวช.) ๒. ระดับอุดมศึกษา / ระดับอาชีวศึกษา (ปวส.) – จำนวนเป้าหมายผู้เข้าประกวด รอบคัดเลือก เป้าหมาย ๑๐๐ คน รอบชิงชนะเลิศ เป้าหมาย ๓๐ คน (ระดับประเทศ)วัตถุประสงค์ของโครงการ
๑) เพื่อเป็นการส่งเสริมการอนุรักษ์ สืบสาน ปกป้อง คุ้มครองและเผยแพร่มรดกภูมิปัญญาภาษาไทยด้านการอ่านทำนองเสนาะให้คงอยู่
๒) เพื่อจัดกิจกรรมการประกวดทักษะความสามารถการอ่านทำนองเสนาะและเสริมสร้างเอกลักษณ์ที่ทำให้เกิดความภูมิใจทางภาษาไทยอันเป็นภาษาประจำชาติ
๓) เพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของนักเรียน นิสิต นักศึกษา ในทักษะความสามารถ
การอ่านทำนองเสนาะให้เกิดคุณค่าความภาคภูมิใจในตนเองและความเป็นไทย
กลุ่มเป้าหมาย
– ผู้เข้าประกวด แบ่งออกเป็น ๒ ระดับ
๑. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย / ระดับอาชีวศึกษา (ปวช.)
๒. ระดับอุดมศึกษา / ระดับอาชีวศึกษา (ปวส.)
– จำนวนเป้าหมายผู้เข้าประกวด
รอบคัดเลือก เป้าหมาย ๑๐๐ คน
รอบชิงชนะเลิศ เป้าหมาย ๓๐ คน (ระดับประเทศ)
วิธีการดำเนินการ
๑. วางแผน จัดทำโครงการ กำหนดวัน เวลาที่จะดำเนินการ
๒. จัดประชุมหารือเพื่อดำเนินการตามแผน
๓. ประสานงานกับบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๔. จัดส่งหนังสือเชิญเข้าร่วมประกวดตามสถานศึกษา
๕. ดำเนินการจัดกิจกรรมตามแผน
๖. ติดตาม ประเมินผลและสรุปผลการดำเนินงาน
๗. จัดทำรายงานสรุปผลเสนอต่อผู้บริหารและหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนพร้อมนำผลการประเมินมาปรับปรุงและแก้ไขเพื่อการจัดกิจกรรมครั้งต่อไป
๘. มีการเผยแพร่ผลการจัดกิจกรรมสู่สาธารณะ
วัน เวลาและสถานที่ดำเนินการ
– ส่งผลงานรอบคัดเลือก วันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๖๕ ถึง ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕
– คณะกรรมการพิจารณารอบคัดเลือก วันที่ ๒๓-๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕
– ประกาศผลผู้ผ่านรอบคัดเลือก วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕
– ผู้ผ่านเข้ารอบส่งผลงานรอบชิงชนะเลิศ วันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๖๕ ทาง Google Classroom
– คณะกรรมการพิจารณาตัดสินรอบชิงชนะเลิศ วันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๖๕ ทาง WEBEX
และห้องสตูดิโอ ชั้น ๖ อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๗ รอบ พระชนมพรรษา วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
๑. การจัดกิจกรรมดังกล่าวจะทำให้เยาวชนหันมาสนใจและร่วมรักษาสืบทอดการอ่านทำนองเสนาะการจัดกิจกรรมดังกล่าวจะทำให้เยาวชนหันมาสนใจและร่วมรักษาสืบทอดการอ่านทำนองเสนาะ อันเป็นมรดกภูมิปัญญาท้องถิ่นทางวัฒนธรรมภาษาไทยอย่างต่อเนื่อง
๒. ผู้เข้าร่วมโครงการ/กิจกรรม เกิดความรู้ ความเข้าใจ ความภาคภูมิใจอันก่อให้เกิดความรักตระหนักในคุณค่าความสำคัญต่อมรดกภูมิปัญญาท้องถิ่นทางวัฒนธรรมภาษาไทยอันเป็นภาษาประจำชาติและเกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทย
๓. ศิลปะการอ่านทำนองเสนาะอันเป็นภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมภาษาไทย ยังคงดำรงอยู่
คู่สังคมไทยชุมชนและชาติอย่างต่อเนื่อง
๔. เกิดเครือข่ายกลุ่มอนุรักษ์และส่งเสริมการอ่านทำนองเสนาะในวงกว้างและสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกันระหว่างผู้จัดงาน ผู้เข้าร่วมโครงการและรวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่ได้ร่วมกันรักษา สืบทอดมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมทางภาษาไทย
หลักเกณฑ์การเข้าร่วมประกวดและการตัดสิน
เข้าประกวด เป็นนักเรียน/นิสิต/นักศึกษา (ไม่จำกัดเพศ) แบ่งเป็น ๒ ระดับ ดังนี้
๑.๑ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย / ระดับอาชีวศึกษา (ปวช.)
๑.๒ ระดับอุดมศึกษา / ระดับอาชีวศึกษา (ปวส.)
โดยทั้งนี้ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ระดับอาชีวศึกษา สามารถส่งผลงานนักเรียน นักศึกษา เข้าร่วมประกวดได้สถานศึกษาระดับละไม่เกิน ๒ คน ส่วนในระดับอุดมศึกษา สามารถส่งผลงานนิสิต นักศึกษา เข้าร่วมประกวดได้ทุกคณะ (ไม่จำกัดชั้นปี)
๒. วิธีการประกวด
๒.๑ รอบคัดเลือก
๒.๑.๑ ให้สถานศึกษาส่งผู้ประกวดตามเกณฑ์ข้อ ๑) และกรอกข้อมูลเกี่ยวกับผู้สมัคร
พร้อมทั้งติดรูปถ่ายหน้าตรง ท่าปกติ ขนาด ๑ นิ้ว ในใบสมัครที่แนบ ทั้งนี้ให้ผู้บริหารสถานศึกษาหรือผู้แทน
ลงนามรับรองสถานภาพผู้เข้าประกวดท้ายใบสมัคร
๒.๑.๒ ผู้เข้าประกวดระดับมัธยมศึกษาและระดับอาชีวศึกษาต้องอ่านบทร้อยกรอง
(เป็นทำนองเสนาะ) ตามบทที่กำหนด ลงในแถบบันทึกเสียง ดังนี้
– ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย / ระดับอาชีวศึกษา (ปวช.) บทอ่านหมายเลข ๑
– ระดับอุดมศึกษา / ระดับอาชีวศึกษา (ปวส.) บทอ่านหมายเลข ๒
๒.๑.๓ ให้ผู้ประกวดอ่านชื่อ นามสกุล ชั้น โรงเรียน/สถานศึกษา/สถาบัน ระดับที่ประกวด ลงในตอนต้นของแถบบันทึกเสียงให้ชัดเจนและอ่านบทร้อยกรองตามที่กำหนดให้ของแต่ละระดับ โดยแยก
๒.๑.๓ ให้ผู้ประกวดอ่านชื่อ นามสกุล ชั้น โรงเรียน/สถานศึกษา/สถาบัน ระดับที่ประกวด
ลงในตอนต้นของแถบบันทึกเสียงให้ชัดเจนและอ่านบทร้อยกรองตามที่กำหนดให้ของแต่ละระดับ โดยแยกบันทึก ๑ คน ต่อ ๑ ไฟล์เสียง
ทั้งนี้ ในการบันทึกเสียงคณะกรรมการไม่อนุญาตให้มีการใช้เทคนิคพิเศษในการปรับแต่งเสียงขณะบันทึกแต่อย่างใด หากมีการตรวจสอบว่ามีการใช้เทคนิคพิเศษในการปรับแต่งเสียง จะถูกปรับไม่ให้ได้รับการพิจารณาผลในรอบคัดเลือก ทั้งนี้ขอสงวนสิทธิ์สำหรับผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวด
ในปีที่ผ่านมาทุกระดับไม่สามารถส่งผลงานเข้าร่วมประกวดได้อีก
๒.๑.๔ การลงทะเบียนและส่งแถบบันทึกเสียง พร้อมไฟล์ใบสมัคร ดังนี้
๑) ลงทะเบียนตอบรับการเข้าร่วมส่งผลงานประกวดรอบคัดเลือก ภายในวันที่
๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ ผ่านทางระบบ Google form ตามลิงก์ https://forms.gle/eKcj3B64kmh1qNkK8 (กรุณากรอกข้อมูลให้ถูกต้องและครบถ้วน) หรือสแกน QR cord ตามไฟล์รูปภาพที่แนบมานี้
๒) ให้ผู้เข้าร่วมหรือผู้ฝึกซ้อม/ควบคุม ส่งไฟล์บันทึกเสียงพร้อมสแกนไฟล์ใบสมัคร
แนบส่งผ่านทางระบบ Google form ตามลิงก์ https://forms.gle/2QAQGbWh5gHBZTTc9 โดยสามารถเริ่มส่งผลงานได้ตั้งแต่วันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๖๕ ถึง ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕
๒.๑.๕ คณะกรรมการตัดสินรอบคัดเลือก จะพิจารณาคัดเลือกผู้มีสิทธิ์เข้ารอบชิงชนะเลิศในวันที่ ๒๓-๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ และจะ
ประกาศผลผู้ผ่านรอบคัดเลือก ในวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕
โดยจะประกาศรายชื่อผู้ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศทาง http://www.southeast.ac.th และทาง Fan page Facebook “ศิลปวัฒนธรรม วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก Art and Culture Department”
๒.๒ รอบชิงชนะเลิศ
๒.๒.๑ คณะกรรมการจะจัดการประกวดรอบชิงชนะเลิศเฉพาะผู้ที่ผ่านเข้ารอบ
โดยจะประกาศบทอ่านรอบชิงชนะเลิศ ผ่านทาง Google Classroom และให้ผู้เข้าประกวดส่งผลงานให้ทันตามระยะเวลาที่กำหนดในวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ โดยจะต้องบันทึกเป็นไฟล์วีดีโอและอัพโหลดลงยูทูป
ตั้งค่าไม่เป็นสาธารณะและแนบลิงก์ส่งใน Google Classroom ตามรหัสห้องเรียนที่กำหนดให้
๒.๒.๒ คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จะพิจารณาตัดสินแต่ละระดับ ในวันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๖๕ ผ่านทางระบบ WEBEX เวลา ๐๙.๓๐ น. เป็นต้นไป ทั้งนี้รหัส Google Classroom และ WEBEX จะแจ้งให้ทราบภายหลัง
๓. เกณฑ์คำประพันธ์
– ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย / ระดับอาชีวศึกษา (ปวช.)
กำหนดอ่านร้อยกรอง (เป็นทำนองเสนาะ)
โคลงสี่สุภาพ ความยาว ๒ บท
- ระดับอุดมศึกษา / ระดับอาชีวศึกษา (ปวส.)
กำหนดอ่านร้อยกรอง (เป็นทำนองเสนาะ)
- ร่ายยาว มหาเวสสันดรชาดก
หมายเหตุ – บทที่ใช้ในการประกวดคณะกรรมการดำเนินงานจะเป็นผู้กำหนดให้โดยแบ่งเป็น
๒ รอบ คือ รอบคัดเลือกและรอบชิงชนะเลิศ โดยในรอบชิงชนะเลิศสำหรับผู้ผ่านเข้ารอบจะต้องทำการประกวดอ่านร้อยกรอง (ทำนองเสนาะ) โดยจะไม่แจ้งให้ทราบว่าใช้บทใดในการประกวด
แต่คงฉันทลักษณ์เดิมตามรอบคัดเลือก
๔. หลักเกณฑ์การพิจารณาตัดสินและการให้คะแนนรอบชิงชนะเลิศ (๑๐๐ คะแนน) ตามองค์ประกอบ ดังนี้
๔.๑ หลักเกณฑ์การพิจารณาตัดสินการอ่านร้อยกรอง (ทำนองเสนาะ)
๑. อ่านถูกต้องตามท่วงทำนองของรูปแบบตามฉันทลักษณ์ ๓๐ คะแนน
๒. ออกเสียงถูกต้องและชัดเจนตามอักขรวิธี ๓๐ คะแนน
๓. คุณภาพน้ำเสียง ๒๐ คะแนน
๔. การเข้าถึงอารมณ์ของบทประพันธ์ ๑๐ คะแนน
๕. บุคลิกภาพ ความพร้อมและความมั่นใจ ๑๐ คะแนน
หมายเหตุ – ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นอันสิ้นสุด
๕. รางวัล
๕.๑ ผู้เข้าประกวดและผู้ฝึกซ้อม/ควบคุมในแต่ละระดับ จะได้รับเกียรติบัตรออนไลน์เข้าร่วมโครงการทุกคน
๕.๒ ผู้เข้าประกวดที่ผ่านรอบคัดเลือก จะได้รับเกียรติบัตรออนไลน์หลังจากการประกวด
รอบชิงชนะเลิศเสร็จสิ้น
๕.๓ ผู้เข้าประกวดที่ได้รับรางวัลในรอบชิงชนะเลิศทั้ง ๒ ระดับ จะได้รับรางวัล ดังนี้
– รางวัลชนะเลิศ โล่รางวัลเกียรติยศ องคมนตรีและเกียรติบัตร
พร้อมเงินรางวัล ๓,๐๐๐ บาท
– รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๑ เกียรติบัตรพร้อมเงินรางวัล ๒,๐๐๐ บาท
– รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๒ เกียรติบัตรพร้อมเงินรางวัล ๑,๐๐๐ บาท
– รางวัลชมเชย ๒ รางวัล เกียรติบัตรพร้อมเงินรางวัล ๕๐๐ บาท
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :
กลุ่มงานพัฒนานักศึกษาและศิลปวัฒนธรรม วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก ๒๙๘ ถนนสรรพาวุธ
แขวง บางนา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร ๑๐๒๖๐ ได้ตามวันเวลาทำการ ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐-๑๗.๐๐ น. ประสานงานที่ อ.อนุชิต เพ็งบุปผา ๐๘๖ ๓๙๓ ๘๖๔๖ (ผู้ประสานงานโครงการ) หรือที่ https://www.facebook.com/artcultsb “ศิลปวัฒนธรรม วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก Art and Culture Department”