ภาพกิจกรรม
ประวัติความเป็นมา
วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอกในฐานะสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาของเอกชนได้ดำเนินงานพันธกิจหลัก ด้านการผลิตบัณฑิต การเรียนการสอน การวิจัย การทำนุบำรุง ศิลปวัฒนธรรม และนอกเหนือจากนี้วิทยาลัยได้ให้ความสำคัญกับงานการบริการทางวิชาการ ซึ่งถือเป็นภารกิจที่สำคัญอีกประการหนึ่ง นับเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการประกันคุณภาพทั้งภายในและภายนอก จากความสำคัญดังกล่าวเพื่อให้การดำเนินงานด้านการบริการวิชาการที่คล่องตัวตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ ใช้ทรัพยากร เทคโนโลยีและเครื่องมือที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าและให้เกิดประโยชน์สูงสุด และสามารถตอบโจทย์การประกันคุณภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอกจึงจัดตั้งสำนักบริการวิชาการ เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ เพื่อเป็นหน่วยงานกลางของวิทยาลัยในการประสานงานสนับสนุน ส่งเสริมงานบริการทางวิชาการระหว่าง คณาจารย์ บุคลากร ทั้งหน่วยงานภายในและภายนอกองค์กร ทั้งภาครัฐและเอกชน และนำผลการดำเนินงานมาถ่ายทอดเพื่อปรับปรุง พัฒนาการเรียนการสอนและการวิจัยต่อไป
นโยบาย
ผลิตผลงานบริการทางวิชาการที่ส่งผลต่อการพัฒนาชุมชนอย่างต่อเนื่อง และยั่งยืน สอดคล้องกับการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา การประเมินคุณภาพภายนอกโดยสำนักงานมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)
วิสัยทัศน์
เป็นองค์กรที่ให้บริการทางวิชาการ ตอบสนองความต้องการของชุมชน สังคม และประเทศชาติ
ปณิธาน
การดำเนินการบริหารจัดการ ทรัพยากร ความรู้ทางวิชาการสู่สังคมอย่างมีประสิทธิภาพ
และประสิทธิผล ตอบสนองได้ตรงความต้องการของผู้ใช้บริการ
ปรัชญา
บริการวิชาการนำสมัย ใส่ใจบริการ
พันธกิจ
มุ่งส่งเสริม การให้บริการและการเผยแพร่องค์ความรู้ทางด้านวิชาการโดยผ่านการอบรม สัมมนา ประชุม จัดนิทรรศการ การศึกษาดูงานทั้งภายใน ภายนอกหน่วยงานและต่างประเทศ การรับให้คำปรึกษา เพิ่มทักษะความรู้งานบริการวิชาการ ให้แก่หน่วยงานภายในและภายนอกองค์การ ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชนทั่วไป ทั้งการบริการวิชาการที่จัดหารายได้และบริการที่ทำโดยไม่หวังผลตอบแทนโดยดำเนินการภายใต้หลักธรรมมาภิบาล
วัตถุประสงค์
- เพื่อเป็นศูนย์กลางประสานงานในการจัดอบรม สัมมนา จัดหาวิทยากร การศึกษาดูงาน และเป็นหน่วยงานที่สนับสนุนงานบริการวิชาการให้กับหน่วยงานภายใน ภายนอกองค์การ ชุมชน และประชาชนทั่วไป
- เพื่อเป็นการจัดหารายได้ที่พึงได้ของวิทยาลัยที่มาจากงานบริการวิชาการ ตรงตามเป้าหมายและนโยบายของวิทยาลัย
แผนการดำเนินงานตามแนวทางประกันคุณภาพการศึกษา
วิทยาลัยฯ จัดให้มีระบบประกันคุณภาพและกลไกการประกันคุณภาพ ซึ่งประกอบด้วยระบบงานประกันคุณภาพ คณะกรรมการประกันคุณภาพระดับวิทยาลัย ระดับคณะ และระดับสำนัก โดยกำหนดให้ทุกคณะและสำนักดำเนินการจัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องกับงานประกันคุณภาพ ซึ่งมีสำนักวิชาการและสำนักประกันคุณภาพการศึกษา เป็นผู้รับผิดชอบ ภายใต้การกำกับดูแลของรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ สำนักบริการวิชาการ ได้กำหนดให้มีระบบประกันคุณภาพและกลไกประกันคุณภาพของสำนัก คือ การจัดทำแนวปฏิบัติและแผนการดำเนินงานสำนักบริการวิชาการ ปีการศึกษา ๒๕๕๙ โดยให้มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ เป้าหมาย และโครงการสำคัญที่กำหนดในระยะ ๖ ปี ของวิทยาลัย ทั้งนี้เพื่อเป็นการสร้างมาตรฐานและคุณภาพในการปฏิบัติงาน นอกจากนี้ยังสามารถตรวจสอบและการประเมินคุณภาพภายใน พร้อมทั้งประเมินผลการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสำนักด้วยตนเอง และเมื่อสิ้นปีการศึกษาโดยมีการจัดทำรายงานผลการดำเนินงานของสำนัก (รายงานประจำปี)
สำหรับปีการศึกษา ๒๕๕๙ สำนักบริการวิชาการ กำหนดจัดทำแผนการดำเนินงานตาม
แนวทางการประกันคุณภาพการศึกษา โดยใช้องค์ประกอบการประกันคุณภาพการศึกษา ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ซึ่งสำนักบริการวิชาการ ได้นำมาเพียงบางองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ องค์ประกอบด้านการบริการวิชาการ , องค์ประกอบด้านการบริหารจัดการ เพื่อมาจัดทำแผนการดำเนินการอย่างเป็นระบบและมีกลไกที่เหมาะสม และรองรับการประเมินคุณภาพจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)
ที่มาและความสำคัญของโครงการ
สถาบันอุดมศึกษาได้ให้ความสำคัญกับระบบการบริหารจัดการโดยมีสภาวิทยาลัยทำหน้าที่ในการกำกับดูแลการทำงานของสถาบันให้มีประสิทธิภาพ วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอกจึงให้ความสำคัญต่อการบริหารจัดการด้านต่างๆ ได้กำหนดทางยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ ที่ต้องการทำให้การบริหารจัดการหน่วยงาน และบุคลากรในหน่วยงานมีความรู้ความสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันทำให้เกิดการพัฒนาองค์การ ดังนั้นสำนักบริการวิชาการซึ่งเป็นส่วนหนึ่งขององค์การ จึงต้องการพัฒนาสร้างเสริมความรู้ให้กับบุคลากรในหน่วยงาน ส่งเสริมแนวทางสร้างความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ของสำนักบริการวิชาการเพื่อเป็นส่วนหนึ่งให้วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอกเกิดการพัฒนาเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ต่อไป
การดำเนินการทำงานบริการวิชาการให้มีความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้
1) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของบุคลากรในสำนักบริการวิชาการ
2) ลักษณะนิสัยและพฤติกรรมในการทำงานที่สร้างความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้
3) ศักยภาพการพัฒนาตนเองเพื่อสนับสนุนให้หน่วยงานเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้
4) กิจกรรมที่จะสนับสนุนความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสำนักบริการวิชาการ
5) การสนับสนุนการทำงานขององค์การ
- ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของบุคลากรในสำนักบริการวิชาการ
- บุคลากรต้องมีความเข้าใจความหมายของการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ซึ่ง การจะทำให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ได้นั้น สำนักบริการวิชาการจะดำเนินการในส่วนการให้ความรู้กับบุคลากร ให้บุคลากรทุกคนต้องอ่าน ค้นคว้า สืบค้น และนำมาถ่ายทอดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน โดยสามารถนำมาปรับใช้กับการทำงาน และพัฒนาสำนักบริการวิชาการ ซึ่งคาดว่าจะสามารถนำไปพัฒนาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอกได้ต่อไป
- ผลจากการให้บุคลากร อ่าน ค้นคว้า สืบค้น จึงได้นำมาถ่ายทอดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พบว่า การจะทำให้สำนักบริการวิชาการ เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้นั้น เริ่มจากบุคลากรต้องรู้จักบริบทของการทำงานบริการวิชาการ
- การบริการวิชาการ ควรมีวิธีการในการประชาสัมพันธ์และต้องมีสิ่งที่ดึงดูดความสนใจของผู้ใช้บริการ นั่นหมายถึง บุคลากรควรมีความรู้เกี่ยวกับการทำงานประชาสัมพันธ์สามารถใช้เครื่องมือเพื่อช่วยในการประชาสัมพันธ์ได้ นอกจากนี้ต้องมีเครือข่ายฯที่มีฝีมือสามารถช่วยในการประชาสัมพันธ์ได้เป็นอย่างดี การมีเครือข่ายฯอาจจะเป็นหน่วยงานอื่นภายในวิทยาลัย
เซาธ์อีสท์บางกอก หรือหน่วยงานภายนอกวิทยาลัยที่มีการทำงานด้านการบริการวิชาการ ซึ่งในขณะนี้มีเครือข่ายฯในชุมชน ได้แก่ อบต.บางพลีใหญ่ อบต.บางปลา กศน.บางปลา กลุ่มสตรี/แม่บ้าน ต.บางปลา ชุมชนสวนเก้าแสน และ วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สำหรับการทำโครงการบริการวิชาการ ควรมีสิ่งที่ดึงดูดความสนใจของผู้ใช้บริการเช่น ในโครงการมีวิทยากรที่ได้รับความนิยมหรือมีชื่อเสียง เนื้อหาของโครงการต้องมีความน่าสนใจ โครงการมีประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการเห็นชัดอย่างเป็นรูปธรรม ทีมงานต้องมีระบบการจัดงานและการประสานงานเป็นอย่างดี มีการเก็บค่าธรรมเนียมให้บริการที่เหมาะสมกับระดับของการบริการวิชาการ หรือบางโครงการอาจเป็นโครงการที่ไม่เสียค่าใช้จ่าย
- ลักษณะนิสัยและพฤติกรรมในการทำงานที่สร้างความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้
-มีความขยัน หมั่นหาความรู้อยู่เสมอ ในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานในสำนักบริการวิชาการ ด้านที่เรียนจบหรือด้านที่ชอบเป็นการส่วนตัวเพราะทั้งหมดสามารถนำมาบูรณาการช่วยทำให้เกิดความสำเร็จในการทำงาน ตื่นตัว ทันโลกทันเหตุการณ์ พร้อมเปลี่ยนแปลง เพื่อความก้าวหน้าของตนเอง – มีความมั่นใจในตนเอง และ พร้อมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เพราะสามารถนำมาปรับปรุงการทำงานของตนเองให้ดีขึ้น
– รักงานบริการ เอาใจเขามาใส่ใจเรา และ มีความ
เห็นอกเห็นใจผู้อื่น
– มีความรักและความสามัคคี ทำงานเป็นทีม
– มีความรับผิดชอบต่องาน และสิ่งที่ตนเองได้ทำ
- ศักยภาพการพัฒนาตนเองเพื่อสนับสนุนให้หน่วยงานเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้
บุคลากรทุกคนมีความมั่นใจในตนเอง สามารถทำงานบริการวิชาการได้เป็นอย่างดี ในเบื้องต้นอาจจะไม่มีประสบการณ์ด้านงาบริการวิชาการ แต่สามารถเรียนรู้ ค้นคว้าด้วยตนเองหรือจากการถ่ายทอดของหัวหน้างาน และบุคลากรทุกคนย่อมมีส่วนที่ตนเองถนัด ดังนั้นต้องนำจุดเด่นที่ตนเองมีและถนัด มาทำงานให้กับหน่วยงาน นอกจากในการหาความรู้แล้ว ต้องรักความก้าวหน้า จึงหาโอกาสในการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น หรือ การอบรมระยะสั้นเพื่อเป็นการสร้างความรู้ให้กับตนเอง และนำความรู้มาช่วยพัฒนาองค์การ
- กิจกรรมที่จะสนับสนุนความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสำนักบริการวิชาการ
ต้องจัดหาโอกาส ลักษณะงาน สร้างพื้นที่หรือเวทีให้บุคลากรในสำนักบริการวิชาการได้มีการแสดงศักยภาพ กล้าแสดงออกในสิ่งที่สามารถทำได้ โดยมีผู้รู้หรือหัวหน้างานเป็นพี่เลี้ยงคอยแนะนำให้การทำงานเป็นระบบและมีขั้นตอน
- การสนับสนุนการทำงานขององค์การ
– ด้านเวลา โดย ให้อิสระในการบริหารจัดการเวลาสำหรับปฏิบัติงานโครงการบริการวิชาการ
– ด้านเอกสาร โดย ลดขั้นตอน การแสดงเอกสารเพื่อแสดงตนในการออกนอกพื้นที่ของทีมบริการวิชาการ
– ด้านงบประมาณ โดย มีงบประมาณประจำปี
ที่ได้รับการอนุมัติ และงบประมาณที่ไม่ทราบล่วงหน้า
โดยต้องสำรองจ่ายก่อน
การส่งเสริมแนวทางสร้างความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) ของสำนักบริการวิชาการ
ประจำปีการศึกษา 2558
ที่มาและความสำคัญของโครงการ
เนื่องด้วยวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอกได้นำระบบบริหารความเสี่ยงมาใช้ในกระบวนการศึกษาและ สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์ของวิทยาลัย
โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้บริหารทุกระดับและคณะทำงาน ได้มีความรู้ ความเข้าใจหลักการ เทคนิคและกระบวนการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในของวิทยาลัย
ทราบขั้นตอนและกระบวนการในการวางแผนบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน ทำให้ดำเนินงานตามกระบวนการให้เป็นระบบและมีความต่อเนื่อง
ดังนั้นในปีการศึกษา 2557 ทางสำนักบริการวิชาการ วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก ได้จัดทำคู่มือการบริหารความเสี่ยงปีการศึกษา 2557 ขึ้น
โดยยึดตามคู่มือการบริหารความเสี่ยงของวิทยาลัย ปีการศึกษา 2557 เพื่อกำหนดทิศทาง หลักการ ขั้นตอนและการเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้อง เพื่อความสะดวกต่อการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงของสำนักบริการวิชาการ สำหรับในปีการศึกษา 2558 จึงได้ต่อยอด มีโอกาสในการใช้ปฏิบัติจริงเพื่อการสร้างเสริมแนวทาง การปฏิบัติงานเพื่อลดความเสี่ยงของการดำเนินงานภายในสำนักบริการวิชาการต่อไป
- วัตถุประสงค์การบริหารจัดการความเสี่ยงของ
สำนักบริการวิชาการ
1. เพื่อให้สำนักบริการวิชาการ มีผลการดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์ตามยุทธศาสตร์
2. เพื่อให้เกิดการรับรู้ ตระหนัก และเข้าใจถึงความเสี่ยงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น
3. เพื่อสร้างกรอบและแนวทางในการปฏิบัติงานให้แก่บุคลากรภายในสำนักบริการวิชาการ
4. เพื่อให้มีระบบในการติดตาม ตรวจสอบผลการดำเนินการบริหารความเสี่ยงและเฝ้าระวังความเสี่ยงใหม่ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น
5. เพื่อส่งเสริมหลักธรรมาภิบาลและการกำกับดูแลตนเองที่ดีภายในสำนักบริการวิชาการ อย่างเป็นรูปธรรม
- ความเสี่ยง/ปัจจัยเสี่ยง
1. บุคลากรขาดความเข้าใจในระบบงานบริการวิชาการ
2. ขาดการรวบรวมฐานข้อมูลเพื่อการบริการวิชาการ
3. บุคลากรไม่ทราบเกณฑ์การประเมินคุณภาพการบริการวิชาการที่ชัดเจน
- มาตรการ/ทางเลือกสำหรับการจัดการความเสี่ยงเพิ่มเติม
1. การถ่ายทอดงาน จากหัวหน้าสู่ลูกน้อง
2. สนับสนุนบุคลากรเข้าร่วมอบรม สัมมนาศึกษาดูงาน การบริการวิชาการ
3. ดำเนินการงานเก็บรวบรวมฐานข้อมูลให้สามารถสืบค้นได้อย่าง สะดวกรวดเร็ว
4. ค้นหาข้อมูล เกี่ยวกับการประกันคุณภาพ และนำความรู้ที่ได้ มาประชุมเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจร่วมกัน
5. จัดประชุมคณะกรรมการเพื่อชี้แจงเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินคุณภาพ
สรุปผลการประเมินความเสี่ยงประจำปีการศึกษา 2558
การประเมินผลภายหลังจากได้ดำเนินการตามแผนการบริการความเสี่ยง จะพบว่า.บุคลากรขาดความเข้าใจในระบบงานบริการวิชาการ จะมีการอบรมหาความรู้ตลอดทั้งปี รวมทั้งออกพื้นที่ทำโครงกาบริการวิชาการ เพื่อให้มีประสบการณ์ในการทำงานบริการวิชากา การติดต่อพบปะ ประสานงานผู้คน จึงมีระดับความเสี่ยง น้อย แต่ทั้งนี้บุคลากรหากมีอัตราการเข้าออกสูง ก็จำเป็นต้องมีการฝึกและแนะนำการทำงานให้กับบุคลากรใหม่ สำหรับการขาดการรวบรวมฐานข้อมูลเพื่อการบริการวิชาการ ในปีการศึกษา 2558 นี้ สำนักบริการวิชาการได้เก็บรวบรวมข้อมูลด้านเอกสารในแฟ้มงาน และ รูปภาพบางส่วนในเฟซบุคของสำนัก ซึ่งรวบรวมภาพการทำโครงการ กิจกรรมของสำนักฯ นอกจากนี้รวบรวมเอกสารบันทึกข้อความ หรือเอกสารโครงการ โดยได้มีการจัดเรียงอยู่ในแฟ้มข้อมูลกลาง และแฟ้มโครงการเฉพาะเรื่อง อย่างเป็นระบบ สามารถค้นหาได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว และสำหรับบุคลากรไม่ทราบเกณฑ์การประเมินคุณภาพการบริการวิชาการที่ชัดเจน สืบเนื่องจากการดำเนินการทำโครงการต่างๆ ต้องสอดคล้องกับเกณฑ์การประกันคุณภาพทั้งภายในและภายนอก ในปีการศึกษา 2558 นี้ จะเน้นที่การประกันคุณภาพภายใน ซึ่งต้องเป็นไปตามเกณฑ์ที่ สกอ. กำหนด ส่วนเกณฑ์การประกันภายนอก ยังอาจจะให้ความสำคัญไม่มาก เพราะหน่วยงานของ สมศ.เอง อาจจะต้องมีการปรับตัวบ่งชี้ในระดับอุดมศึกษาเสียก่อน เมื่อได้ข้อสรุปร่วมกันจึงจะนำมาใช้ในปีการศึกษา 2559 ต่อไป
การประเมินความเสี่ยงของสำนักบริการวิชาการในภาพรวมแล้วพบว่าประเด็นที่ต้องให้ความสนใจคือเรื่องของการชี้แจงให้บุคลากรทราบเกณฑ์การประกันคุณภาพเพื่อความชัดเจนในการทำโครงการต่างๆ รองลงมาคือการให้ความรู้ของการทำโครงการบริการวิชาการ และ การเก็บรวบรวมข้อมูลที่ต้องทำให้เป็นระบบเพื่อสะดวกต่อการค้นหา ทั้งบุคลากรใน และ บุคลากรภายนอกสำนักบริการวิชาการ
การสร้างเสริมแนวทางการปฏิบัติงาน
เพื่อลดความเสี่ยงของการดำเนินงาน
ภายในสำนักบริการวิชาการ
ประจำปีการศึกษา 2558
เครือข่ายความร่วมมือของสำนักบริการวิชาการ
-องค์การบริหารส่วนตำบลบางปลา อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ
-เครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง
-มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
-วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย (มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ)
-จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
-มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
-หมู่บ้านสวนเก้าแสน หมู่9 ต.บางปลา อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ
-โรงเรียนวัดบางพูน เขตพื้นที่ จ.ปทุมธานี
-รร.คลองบางปิ้ง
-รร.คลองมหาวงก์
-รร.คลองบางกระบือ
-รร.วัดด่านสำโรง
-รร.วัดหนามแดง (เขียวอุทิศ)
-รร.คลองแสนสุข (สิทธิไชยบำรุง)
-รร.สุเหร่าบางกะสี
-รร.วัดนาคราช
-รร.เตรียมปริญญานุสรณ์
-มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
-มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี
-มหาวิทยาลัยรังสิต
-มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
-เกษตรอำเภอ
-กศน.บางปลา