ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรหรือปรับปรุงหลักสูตร
กรอบและแนวทางการจัดทำหลักสูตรของ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษากระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2558 ได้กำหนดให้มีการปรับปรุงหลักสูตรทุก 5 ปี โดยขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรใหม่ และการปรับปรุงหลักสูตร มีขั้นตอนและรายละเอียดดังนี้
แผนการพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตร
การพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตรต้องเป็นไปตามแผนการพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตรซึ่งบรรจุในแผนพัฒนาวิทยาลัย หากหลักสูตรใดที่ต้องการพัฒนาขึ้นมาใหม่แต่ยังไม่มีการบรรจุไว้ในแผนของวิทยาลัย คณะต้องนำเสนอต่อวิทยาลัย เพื่อบรรจุไว้ในแผนของวิทยาลัย
แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตร
คณะต้องเสนอวิทยาลัยในการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 1 ชุด เรียกว่าคณะกรรมการพัฒนา/ปรับปรุงหลักสูตรตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา ซึ่งประกอบด้วยอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรอย่างน้อย2 คน ผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชานั้นๆ และเป็นบุคคลภายนอกอย่างน้อย 2 คน ผู้ใช้บัณฑิต 1 คน หากหลักสูตรใดมีองค์กรวิชาชีพให้มีผู้แทนจากองค์กรวิชาชีพรวมเป็นกรรมการอย่างน้อย 1 คนเพื่อดำเนินการพัฒนาหลักสูตร รูปแบบของการทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนา/ปรับปรุง หลักสูตร แสดงในตัวอย่างคำสั่งคำแต่งตั้งเอกสารหมายเลข 1 – 3
การเขียนโครงการพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตร
คณะกรรมการพัฒนา ปรับปรุงหลักสูตร ต้องจัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณในการจัดทำหลักสูตรจากวิทยาลัย รายละเอียดในการจัดทำโครงการ เป็นไปตามแบบฟอร์มเสนอโครงการของวิทยาลัย หลักเกณฑ์การเบิกจ่ายการพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตรตามการเบิกจ่ายงบประมาณของวิทยาลัย
การสำรวจคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ และความต้องการเข้าศึกษาในหลักสูตร
การพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตรคณะกรรมการพัฒนา/ปรับปรุงหลักสูตร จำเป็นต้องศึกษาคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตร โดยการทำวิจัยเชิงสำรวจ หรือสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต โดยมีหัวข้อในการศึกษาสอดคล้องกับมาตรฐานผลการเรียนรู้ 5 ด้าน ดังนี้
- ด้านคุณธรรม จริยธรรม
- ด้านความรู้
- ด้านทักษะทางปัญญา
- ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
- ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศ
นอกจากนี้ควรศึกษาถึงความต้องการเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรของผู้มีคุณสมบัติเข้าศึกษาที่หลักสูตรกำหนด ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นใหม่การพิจารณาขนาดของกลุ่มตัวอย่าง หรือตอบแบบสอบถามในการทำวิจัย ควรพิจารณาทรัพยากรด้านต่างๆ เช่น งบประมาณ เวลา และควรมีระดับความเชื่อมั่นที่เชื่อถือได้
การทำแผนบริหารความเสี่ยง
คณะกรรมการพัฒนา/ปรับปรุงหลักสูตร จัดทำแผนบริหารความเสี่ยงเพื่อจะศึกษาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อเตรียมการวางแผนป้องกันความสูญเสียที่จะเกิดขึ้น เช่น จำนวนนักศึกษาไม่เป็นไปตามแผนการรับเข้าศึกษาในแต่ละปีการศึกษา ไม่เป็นที่ต้องการตลาดของแรงงานเป็นต้น
การวิพากษ์หลักสูตร
คณะกรรมการพัฒนา/ปรับปรุงหลักสูตร จัดให้มีการวิพากษ์หลักสูตรอย่างน้อย 2 ครั้งสำหรับหลักสูตรพัฒนาขึ้นใหม่ หรือ อย่างน้อย 1 ครั้ง สำหรับหลักสูตรปรับปรุง โดยควรมีผู้เข้าร่วมวิพากษ์ดังนี้
- คณะกรรมการพัฒนา/ปรับปรุงหลักสูตร
- ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภายในและภายนอกวิทยาลัย
- ผู้ใช้บัณฑิต
- นักศึกษาปัจจุบัน และ/หรือศิษย์เก่าของหลักสูตร
คณะกรรมการพัฒนา/ปรับปรุงหลักสูตร ต้องจัดทำรายงานการวิพากษ์หลักสูตร เพื่อใช้ประกอบในการจัดทำ มคอ.2 และใช้ข้อมูลจากการวิพากษ์ไปพิจารณาปรับปรุงหลักสูตรใหม่สมบูรณ์ต่อไป
การนำเสนอหลักสูตรต่อสภาวิชาการและสภาวิทยาลัย
การนำเสนอหลักสูตรเพื่อให้สภาวิชาการและสภาวิทยาลัยอนุมัติ จะดำเนินการได้หลังจากคณะกรรมการพัฒนา/ปรับปรุงหลักสูตร แก้ไข มคอ.2 ตามข้อเสนอแนะของคณะอนุกรรมการกลั่นกรองหลักสูตรเรียบร้อยแล้ว โดยผ่านการตรวจสอบของสำนักวิชาการ
การนำเสนอหลักสูตรต่อสภาวิชาการ และสภาวิทยาลัยใช้เวลาในการนำเสนอประมาณ 5-10 นาที คณะกรรมการพัฒนา/ปรับปรุงหลักสูตร ต้องจัดทำไฟล์นำเสนอ และส่งให้ผู้จัดการประชุมสภา (สภาวิชาการติดต่อสำนักวิชาการ สภาวิทยาลัยติดต่อสำนักงานสภาวิทยาลัย) ก่อนประชุม อย่างน้อย 2 สัปดาห์ มีรายละเอียดในการนำเสนอดังนี้
- ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
- รายนามผู้ทรงคุณวุฒิที่ร่วมวิพากษ์หลักสูตร
- ปรัชญา และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- วิเคราะห์ความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์ของหลักสูตรและมาตรฐานผลการเรียนรู้ 5 ด้าน
- โครงสร้างหลักสูตร
- รายงานผลการวิจัย/ผลการสำรวจความต้องการของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อสาขาวิชา
- กรณีที่เป็นหลักสูตรปรับปรุงให้นำเสนอข้อเปรียบเทียบระหว่างหลักสูตรเดิม และหลักสูตรปรับปรุง
หลักเกณฑ์มาตราฐาน
- ระเบียบหลักเกณฑ์การขอตำแหน่งวิชาการในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. 2560
- เกณฑ์กำหนดชื่อปริญญา 59
- เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา
- เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี
- เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี ระดับบัณฑิตศึกษา แนวทางการบริหารเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษาพศ.2558
- เกณฑ์การเข้าสู่ตำแน่งวิชาการ
การบริหารความเสี่ยง
แบบฟอร์มต่างๆ
การสอบ
เสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ
- บันทึกข้อความ : การเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ
- แบบคำขอรับการพิจารณากำหนดตำแหน่งทางวิชาการ
- ข้อบังคับวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก ว่าด้วย หลักเกณฑ์ และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งคณาจารย์ให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการพ.ศ. 2561
- ประกาศวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอกที่ 069/2563 เรื่องแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ
หลักสูตร
- แบบ รายงานข้อมูลการพิจารณารายละเอียดของหลักสูตร ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับปริญญาตรี
- แบบ มคอ.2 รายละเอียดของหลักสูตร
- แบบฟอร์มปรับปรุงหลักสูตร (สมอ.08)
- แบบ มคอ.3 รายละเอียดของรายวิชา
- แบบ มคอ.4 รายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม
- แบบ มคอ.5 รายงานผลการดำเนินการของรายวิชา
- แบบ มคอ.6 รายงานผลการดำเนินการของประสบการณ์ภาคสนาม
การบริหารความเสี่ยง
แบบฟอร์มต่างๆ