สาขาวิชาการบัญชี
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็มภาษาไทย : บัญชีบัณฑิต (บัญชีบัณฑิต )
ชื่อย่อภาษาไทย : บช.บ. (บัญชีบัณฑิต )
โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 129 หน่วยกิต
- หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
- หมวดวิชาเฉพาะ 93 หน่วยกิต
- หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
คำอธิบาย
สาขาการบัญชีเน้นให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถในด้านวิชาการบัญชีทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติโดยเน้นให้มีความชำนาญใน ด้านประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและภาษาอังกฤษ เพื่อให้สามารถประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในระดับประเทศและระดับสากล
สาขาวิชาการตลาดดิจิทัล
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็มภาษาไทย : บริหารธุรกิจบัณฑิต (การตลาดดิจิทัล)
ชื่อย่อภาษาไทย : บธ.บ. (การตลาดดิจิทัล)
โครงสร้างของหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 123 หน่วยกิต
- หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
- หมวดวิชาเฉพาะ 87 หน่วยกิต
- หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
คำอธิบาย
สาขาการตลาดเน้นให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถในด้านวิชาการตลาด ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติโดยเน้นให้มีความชำนาญ ในด้านประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและภาษาอังกฤษเพื่อให้สามารถประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในระดับประเทศและระดับสากล
สาขาวิชาการจัดการ
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็มภาษาไทย : บริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการ)
ชื่อย่อภาษาไทย : บธ.บ. (การจัดการ)
โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 126 หน่วยกิต
- หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
- หมวดวิชาเฉพาะ 90 หน่วยกิต
- หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
คำอธิบาย
สาขาวิชาการจัดการมุ่งเน้นให้นักศึกษามีความรู้ ความสามารถในด้านการจัดการทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติโดยเน้นให้มีความชำนาญในด้านประยุกต์ ใช้เทคโนโลยีและภาษาอังกฤษเพื่อให้สามารถประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งในระดับประเทศและระดับสากล
สาขาวิชาการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมบริการ
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็มภาษาไทย : ศิลปศาสตรบัณฑิต (การท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมบริการ)
ชื่อย่อ : ศศ.บ (การท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมบริการ)
โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 129 หน่วยกิต
- หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต
- หมวดวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า 87 หน่วยกิต
- หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
- หมวดฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
คำอธิบาย
สาขาการจัดการการท่องเที่ยวและการโรงแรมมุ่งเน้นให้นักศึกษาจะมีความรู้ความสามารถในด้านการท่องเที่ยวและการโรงแรม เช่น การจัดประชุม ธุรกิจสายการบิน ลูกค้าสัมพันธ์ มัคคุเทศก์ และเจ้าหน้าที่ประสานงานต่างประเทศ
สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็มภาษาไทย : ศิลปศาสตรบัณฑิต (ภาษาอังกฤษธุรกิจ)
ชื่อย่อภาษาไทย : ศศ.บ. (ภาษาอังกฤษธุรกิจ)
โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 126 หน่วยกิต
- หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต
- หมวดวิชาเฉพาะไม่น้อยกว่า 90 หน่วยกิต
- หมวดเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
คำอธิบาย
สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจเน้นพัฒนาทักษะนักศึกษาด้านการสื่อสารทั้งด้านการฟัง พูด อ่าน เขียน ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และสอดคล้องกับ วัฒนธรรมของเจ้าของภาษา เพื่อใช้ในการประกอบ อาชีพ หรือดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็มภาษาไทย : บริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน)
ชื่อย่อภาษาไทย : บธ.บ. (การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน)
โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 129 หน่วยกิต
- หมวดวิชาเฉพาะ 93 หน่วยกิต
- หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
- หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
คำอธิบาย
สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์เน้นให้นักศึกษามีความรู้ ในด้านการจัดการโลจิสติกส์ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติโดยเน้นให้มีความชำนาญในด้านประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและภาษาอังกฤษเพื่อให้สามารถประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งในระดับประเทศและระดับสากล
สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็มภาษาไทย : วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีสารสนเทศ)
ชื่อย่อภาษาไทย : วท.บ. (เทคโนโลยีสารสนเทศ)
โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 120 หน่วยกิต
- หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
- หมวดวิชาเฉพาะ 84 หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาแกน 9 หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาเอก 75 หน่วยกิต
- หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
คำอธิบาย
สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตให้มีสมรรถนะด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์ระบบ และบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายขององค์กร เครือข่ายสื่อสารไร้สาย (Wireless Network) โดยสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับองค์กรชั้นนำ เช่น Cisco, MikroTik, Oracle, Huawei จึงทำให้หลักสูตรมีความทันสมัยสอดรับกับความต้องการของตลาดแรงงาน และทิศทางในการพัฒนา
สาขาวิชานิติศาสตร์
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็มภาษาไทย : นิติศาสตรบัณฑิต (นิติศาสตรบัณฑิต)
ชื่อย่อภาษาไทย : น.บ. (นิติศาสตรบัณฑิต)
โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 129 หน่วยกิต
- หมวดวิชาเฉพาะ 93 หน่วยกิต
- หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
- หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
คำอธิบาย
สาขาวิชานิติศาสตร์เน้นผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพและ มีความเชี่ยวชาญในวิชาชีพกฎหมาย ผสานกับการปลูกฝังคุณธรรมของนักกฎหมาย ในอันที่จะสามารถนำไปประกอบอาชีพทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และส่วนท้องถิ่น
สาขาวิชาเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็มภาษาไทย : เทคโนโลยีบัณฑิต (เทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล)
ชื่อย่อภาษาไทย : ทล.บ. (เทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล)
โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 120 หน่วยกิต
- หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
- หมวดวิชาเฉพาะ 84 หน่วยกิต
- หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
คำอธิบาย
หลักสูตรมุ่งเน้นผลิตบัณฑิตให้มีสมรรถนะที่ผสมผสานระหว่างวิทยาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศกับหลักบริหารธุรกิจ เป็นทั้งผู้ที่ประยุกต์ใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีดิจิทัลเชิงลึกในการวิเคราะห์และแก้ปัญหาทางธุรกิจเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร สามารถวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ทางธุรกิจ สามารถเรียนรู้และพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ระบบธุรกิจอัจฉริยะ และสามารถออกแบบและพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับสนับสนุนงานธุรกิจ
สาขาวิชามัลติมีเดียและอีสปอร์ต
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็มภาษาไทย : วิทยาศาสตรบัณฑิต (มัลติมีเดียและอีสปอร์ต)
ชื่อย่อภาษาไทย : วท.บ. (มัลติมีเดียและอีสปอร์ต)
โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 120 หน่วยกิต
- หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
- หมวดวิชาเฉพาะ 84 หน่วยกิต
- หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
คำอธิบาย
หลักสูตรมัลติมีเดียและอีสปอร์ตเป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตให้มีสมรรถนะด้านความคิดสร้างสรรค์ เรียนรู้การออกแบบและผลิตสื่ออินเทอร์แอคทีฟ การออกแบบและพัฒนาเกมคอมพิวเตอร์ มีทักษะความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับกีฬาอีสปอร์ต รวมถึงหลักการบริหารจัดการเกี่ยวกับธุรกิจมัลติมีเดียและอีสปอร์ต ฝึกปฏิบัติกับสถานการณ์จริง และครอบคลุมสายงานในกลุ่มอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ (Digital Content)
สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และนวัตกรรม
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็มภาษาไทย : เทคโนโลยีบัณฑิต (เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และนวัตกรรม)
ชื่อย่อภาษาไทย : ทล.บ. (เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และนวัตกรรม)
โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 78 หน่วยกิต
- หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 18 หน่วยกิต
- หมวดวิชาเฉพาะ 54 หน่วยกิต
- หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
คำอธิบาย
เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตให้มีสมรรถนะด้านฮาร์ดแวร์และระบบควบคุมอัจฉริยะ(Hardware and Intelligent Control System)การประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์สมองกลฝังตัว (Embedded Software) สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่อตอบโจทย์ภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม และภาคการเกษตร นำไปสู่การเป็นผู้ประกอบการ/นักวิชาการ ที่สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อเพิ่มรายได้และเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาประเทศ
สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมอุตสาหการ
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็มภาษาไทย : อุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีวิศวกรรมอุตสาหการ)
ชื่อย่อภาษาไทย : อส.บ. (เทคโนโลยีวิศวกรรมอุตสาหการ)
โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 78 หน่วยกิต
- หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 18 หน่วยกิต
- หมวดวิชาเฉพาะ 54 หน่วยกิต
- หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
คำอธิบาย
เป็นหลักสูตรที่มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีสมรรถะในการคิดวิเคราะห์ เพื่อปรับปรุงงาน (Improvement) พัฒนางาน (Development) รวมทั้งแก้ไขปัญหา (Solution) ในงานอุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีทักษะการเป็นผู้นำ สามารถประยุกต์ใช้เครื่องมือด้านเทคโนโลยีวิศวกรรม อุตสาหการเพื่อยกระดับขีดความสามารถของผู้เรียนให้เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานในภาคอุตสาหกรรม
ช่องทางการชำระเงิน
- สำนักการคลัง มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก อาคาร 7 รอบเฉลิมพระเกียรติ
- ช่องทางออนไลน์ E-Banking
ทุนช้างเผือกระดับมัธยมศึกษาสู่บัณฑิต
เป็นทุนการศึกษาที่มอบให้แก่นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายทั่วประเทศที่มีความสามารถโดดเด่น ทั้งทางด้านวิชาการ ด้านกิจการในระดับชาติ และมีความประพฤติดี โดยเปิดโอกาสให้เยาวชนเหล่านี้ ได้ศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา เพื่อพัฒนาคุณวุฒิ ความรู้ ความสามารถ จำนวน 50 ทุน
คุณสมบัติ
- 1. เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย(ม.6) หรือ ประกาศณียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
- 2. มีผลการเรียน 5 ภาคการศึกษา เฉลี่ยสะสม 2.75 ขึ้นไป
- ** ในกรณีที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ถึง 2.75 แต่ไม่ต่ำกว่า 2.50 และมีความสามารถโดดเด่นทาง ด้านวิชาการเป็นที่ประจักษ์ ระดับชาติ หรือนานาชาติ ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการทุนช้างเผือก
หลักฐานการสมัคร
- สำเนาระเบียนแสดงผลการเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (รบ.1)
- หนังสือรับรองความประพฤติและหนังสือรับรองผลการเรียนคะแนนเฉลี่ยสะสม
- แฟ้มสะสมผลงาน (ถ้ามี)
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
- สำเนาหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ/นามสกุล (กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลง)
ทุนช้างเผือกระดับอนุปริญญาสู่บัณฑิต
เป็นทุนการศึกษาที่มอบให้แก่นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับอาชีวะศึกษาทั่วประเทศที่มีความสามารถโดดเด่น ทั้งทางด้านวิชาการ ด้านกิจการในระดับชาติ และมีความประพฤติดี โดยเปิดโอกาสให้เยาวชนเหล่านี้ ได้ศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา เพื่อพัฒนาคุณวุฒิ ความรู้ ความสามารถ จำนวน 50 ทุน
คุณสมบัติ
- 1. เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับประกาศณียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
- 2. มีผลการเรียน 3 ภาคการศึกษา เฉลี่ยสะสม 2.75 ขึ้นไป
- **ในกรณีที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ถึง 2.75 แต่ไม่ต่ำกว่า 2.50 และมีความสามารถโดดเด่นทาง ด้านวิชาการเป็นที่ประจักษ์ ระดับชาติ หรือนานาชาติ ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการทุนช้างเผือก
หลักฐานการสมัคร
- สำเนาระเบียนแสดงผลการเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (รบ.1)
- หนังสือรับรองความประพฤติและหนังสือรับรองผลการเรียนคะแนนเฉลี่ยสะสม
- แฟ้มสะสมผลงาน (ถ้ามี)
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
- สำเนาหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ/นามสกุล (กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลง)
ทุนช้างเผือกประเภทความสามารถพิเศษ
วิทยาลัยมีนโยบายส่งเสริม และสนับสนุนด้านกิจกรรมกีฬา นันทนาการและด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมโดยการเปิดรับสมัครนักเรียน นักศึกษาที่มีความสามารถด้านกีฬาระดับชาติ เยาวชนทีมชาติ นักเรียนอาเซียน นักเรียนไทย กีฬาแห่งชาติและกีฬาเยาวชนแห่งชาติเข้าศึกษาต่อทั้งระดับปริญญาตรี และนักศึกษาที่มีความสามารถด้านดนตรีสากล และนักศึกษาที่มีความสามารถด้านดนตรีไทยและนาฏศิลป์ไทย
คุณสมบัติ
- ระดับปริญญาตรี เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย(ม.6) ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือเทียบเท่า หรือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
- เป็นนักเรียน นักศึกษาที่มีผลงานความสามาถพิเศษด้านกีฬา ในระดับชาติ เยาวชนทีมชาติ นักเรียนอาเซียน นักเรียนไทย กีฬาแห่งชาติ และกีฬาเยาวชนแห่งชาติ และ นักศึกษาที่มีความสามารถด้านดนตรีสากล และนักศึกษาที่มีความสามารถด้านดนตรีไทยและนาฏศิลป์ไทย
- เป็นนักกีฬาที่เคยเข้าร่วมกีฬาชนิดหรือประเภทต่างๆ ที่จัดโดยสมาคมกีฬา หรือการกีฬาแห่งประเทศไทย
หลักฐานการสมัคร
- สำเนาระเบียนแสดงผลการเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (รบ.1)
- หนังสือรับรองความประพฤติและหนังสือรับรองผลการเรียนคะแนนเฉลี่ยสะสม
- แฟ้มสะสมผลงาน (ถ้ามี)
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
- สำเนาหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ/นามสกุล (กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลง)
กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)
กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา เป็นโครงการที่วิทยาลัยได้รับจากรัฐบาล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้กู้ยืมเงินเพื่อเป็นค่าเล่าเรียน ค่าบำรุงการศึกษา ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา ตลอดจนค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการครองชีพระหว่างศึกษาอยู่ในระดับอุดมศึกษา
- เป็นนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ครอบครัวมีรายได้ไม่เกิน 200,000 บาท ต่อปี
- เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีทุกชั้นปี เกรดเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.00 (CUM.GPA.)
- มีสำเนาหลักฐานแสดงถึงการเข้าร่วมโครงการที่มีประโยชน์ต่อสังคมและสาธารณะ (จิตอาสา) ในปีการศึกษาก่อนหน้าที่จะขอกู้ยืม (โครงการฯ ที่ผู้ขอกู้ยืมเข้าร่วม จะต้องไม่เป็นส่วนหนึ่งของผลการเรียนและต้องไม่ได้รับค่าตอบแทนในการเข้าร่วมโครงการฯ) จำนวน 1 กิจกรรม ไม่กำหนดชั่วโมง
- ต้องมีอายุในขณะที่ขอกู้โดยเมื่อนับรวมกับระยะเวลาปลอดหนี้ 2 ปี และระยะเวลาผ่อนชำระอีก 15 ปีรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 60 ปี
- สามารถกู้ได้ทุกหลักสูตร รายละเอียดเพิ่มเติม Click
กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (กรอ.)
เป็นโครงการที่วิทยาลัย ได้รับจากรัฐบาล โดยมีวัตถุประสงค์ สนับสนุนเงินกู้ยืมเพื่อเป็นค่าเล่าเรียน ค่าบำรุงการศึกษา ค่าใช้จ่ายเกี่ยวเนื่อง กับการศึกษา ค่าครองชีพ (เฉพาะผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์) แก่เยาวชน ที่เลือกเรียนต่อในสาขาที่เป็นความต้องการหลัก และมีความชัดเจนของการผลิตกำลังคนของประเทศ
- เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่เข้าศึกษาในชั้นปีที่ 1 เท่านั้น
- เป็นนักศึกษาที่เรียนในหลักสูตร/สาขาวิชาที่เป็นความต้องการหลักและมีความชัดเจนของการผลิตกำลังคนตามที่ สำนักงานกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษากำหนด โดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องรายได้ครอบครัว
- ได้เกรดเฉลี่ยสะสมระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สายสามัญ หรือ สายอาชีพ และ อนุปริญญา (ปวส.) ต้องไม่ต่ำกว่า 2.00
- สำเนาหลักฐานแสดงถึงการเข้าร่วมโครงการที่มีประโยชน์ต่อสังคมและสาธารณะ (จิตอาสา) ในปีการศึกษาก่อนหน้าที่จะขอกู้ยืม (โครงการฯ ที่ผู้ขอกู้ยืมเข้าร่วม จะต้องไม่เป็นส่วนหนึ่งของผลการเรียนและต้องไม่ได้รับค่าตอบแทนในการเข้าร่วมโครงการฯ) จำนวน 1 กิจกรรม ไม่กำหนดชั่วโมง
- ให้กู้เฉพาะคณะ สาขาที่ขาดแคลนตามที่รัฐกำหนด รายละเอียดเพิ่มเติม Cilck
Q: ปีการศึกษา 1/2560 เปิดเทอมวันไหนคะ
A: ภาคปกติเปิด 12มิย60 / ภาคอาทิตย์เปิด 13ส.ค60 / ภาคค่ำเปิด 15ส.ค60 ครับ
Q: เซาธ์อีสท์มีภาคสมทบไหมคะ
A: มีครับ ภาคค่ำ และ ภาคเสาร์อาทิตย์ สำหรับนักศึกษาที่ทำงานและเรียนด้วย
Q: ที่นี้เสียค่าเทียบโอนเท่าไหร่คะ
A: มีค่าเปรียบโอนรวมทั้งหมดแล้ว 2,500 บาท ครับ
Q: การสมัครเรียนต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้างคะ
A: 1. สำเนาบัตรประชาชน ของผู้สมัคร และ บิดาหรือมารดา หรือผู้ปกครอง
2. สำเนาทะเบียนบ้าน
3. รูป1-2นิ้ว /1ใบ
4. วุฒิตัวจริง
5. ค่าลงทะเบียน4,200บาท ครับ
Q: ค่าเทอมเท่าไหร่คะ
A: 26,000 – 28,000 บาท ขึ้นอยู่กับสาขาวิชาที่ลงทะเบียน และเทียบโอนหน่วยกิต ครับ
Q: มีคณะอะไรบ้างคะ
A: คณะวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี / บัญชีและวิทยาการจัดการ / โลจิสติกส์และเทคโนโลยีการบิน / ศิลปศาตร์ / นิติศาสตร์ ครับ
Q: ค่าเทอมสามารถผ่อนจ่ายได้ไหมคะ
A: ได้ครับ ภาคปกติผ่อนจ่ายได้2ครั้ง ก่อนสอบมิดเทอมและไฟนอล ภาควันอาทิตย์ผ่อนจ่ายได้ 3ครั้ง ก่อนสอบ ครับ
Q: หลักสูตร ป.โท มีค่าใช้จ่ายยังไงคะ
A: เป็นแบบเหมาจ่ายครับ 150,000 บาท ตลอดหลักสูตร ครับ